ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง

Authors

  • วรารัตน์ ทิพย์รัตน์
  • สายพิน เม่งเอียด
  • โสภิต สุวรรณเวลา
  • เบญจวรรณ ช่วยแก้ว

Keywords:

พฤติกรรม, การป้องกัน, ภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ, กลุ่มเสี่ยง, ดัชนีมวลกาย, BMI

Abstract

          การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีคะแนนการประเมินสมรรถภาพสมองต่ำกว่า 23 คะแนน และอาศัยในเขตพื้นที่จังหวัดตรัง จำนวน 118 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และพฤติกรรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน          ผลการวิจัยพบว่า คะแนนพฤติกรรมการป้องภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง อยู่ในระดับปานกลางค่าเฉลี่ยเท่ากับ 29.97 (SD. = 3.584) และปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงได้ดีที่สุดคือ การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม (β = .535) และรองลงมาคือ ดัชนีมวลกาย (β = -.129) โดยสามารถร่วมทำนายได้ร้อยละ 31.9 (R2 = .319) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพ ควรส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีดัชนีมวลกายตามเกณฑ์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม            This predictive correlational research aimed to examine predicting factors of dementia preventive behavior among older adults at risk for dementia. A multi-stage random sampling was used to recruit 118 participants with aged of 60 years or more, and score of the Thai Mental State Examination below 23. Data were collected from August to October 2016. The research instruments consisted of four questionnaires of a demographic data, the social activity participation, the activities of daily living, and the dementia preventive behavior. Their Cronbach’s alpha reliability were .79, .81 and .76, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and stepwise multiple regression.          The results revealed that the mean scores of dementia preventive behavior at was 29.97 (SD. = 3.584) which was at a moderate level. Social participation was the best predictor (β = .535) and BMI was the second predictor (β = -.129) of dementia preventive behaviors. These significant predictors could explain 31.9 % of variation in dementia preventive behaviors (Adj.R2 = .314, p < .05). These findings suggest that nurses and health care personnel should promote social participation and normal BMI in older adults. Consequently, the risk of dementia would be decreased.

Downloads