ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกของนักศึกษาอุดมศึกษาชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
Keywords:
ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย, ความตั้งใจ, การติดเชื้อเอชไอวีAbstract
การศึกษาแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความตั้งใจในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกของนักศึกษาอุดมศึกษาชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 107 คน เป็นนักศึกษาชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่กำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ในภาคตะวันออก คัดเลือกแบบสะดวก เครื่องมือ วิจัยเป็นแบบสอบถาม 6 ชุด ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การรับรู้รูปแบบบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี เจตคติต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี การรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัยต่อการเข้ารับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี และความตั้งใจในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .72 - .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าเจตคติต่อการตรวจหาการติดเชื้อ เอชไอวี (β = .209) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (β = .408) ความสามารถแห่งตนในการควบคุมปัจจัย (β = .361) และการรับรู้รูปแบบการบริการ (β = .187) สามารถร่วมทำนายความตั้งใจต่อการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรก ได้ร้อยละ 29.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2adj = .257, F Change = 8.34, p < .001) ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า การส่งเสริมให้เยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายให้มีความตั้งใจในการเข้ารับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี ควรเสริมการสร้างเจตคติเชิงบวกต่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี สร้างความมั่นใจในตนเอง สนับสนุนบทบาทของสมาชิกในครอบครัวและเพื่อน รวมทั้งการพัฒนารูปแบบบริการให้เข้าถึงได้ The purpose of this predictive correlational study was to examine predicting factors of intention to HIV testing for the first time among male university students who have sex with men. The sample was 107 male university students who have sex with men (MSM) selected by convenience sampling among male university students who have sex with men studying in a university in the east of Thailand. Research instruments were self-report questionnaires including, the personal information and sexual risk behaviors, perception of HIV testing services, attitudes towards HIV testing for the first time, subjective norms, perceived behavioral control, and intention to HIV testing for the first time. Their reliability ranged from .72 to .80. Data were analyzed by using descriptive statistics and standard multiple regression analysis. The results revealed that attitudes toward HIV testing for the first time (β = .209), subjective norms (β = .408), perceived behavioral control (β = .361) and perception of HIV testing service (β = .187) explained 29.2% of the variance in the prediction of intention to HIV testing for the first time (R2adj = .257, F Change = 8.339, p < .001). These findings suggest that to promote intention of HIV testing for the first time among MSM should enhance positive attitude towards HIV testing, self-confidence, role of family members and friends, as well as developing available health services.Downloads
Issue
Section
Articles