Consumption of Folic Acid Supplement and High Dietary Folate among Nepalese Women during Preconception and Pregnancy in Association with Premature Birth: A Case-Control Study
Keywords:
Folic acid supplement, high dietary folate, preconception, pregnancy, preterm birth, กรดโฟลิกเสริม, สารอาหาร, โฟเลทสูง, ระยะก่อนตั้งครรภ์, ระยะตั้งครรภ์, การคลอดก่อนกำหนดAbstract
This case-control study aimed to examine consumption of folic acid supplement and high dietary folate among Nepalese women during preconception and pregnancy in association with preterm birth. A convenience sampling technique was conducted to recruit 84 mothers who delivered 42 preterm and 42 full-term babies at a hospital, Kathmandu, Nepal from March to May 2018. Research instruments included 5 self-reported questionnaires. There were a demographic questionnaire and the consumption of folic acid supplement and folate diet during preconception and pregnancy questionnaires. Information about preterm births was obtained from medical records. Descriptive statistics, t-test, chi- square test and multiple logistic regression analysis were computed for data analysis. Results showed that during preconception and pregnancy, women who consumed more on high dietary folate were less likely to have preterm births comparing to those who consumed less (OR = .20, 95%CI = .06-.67 and OR = .53, 95%CI = .32-.92, respectively). Consumption of folic acid supplement during preconception did not associated with preterm birth. However, women who consumed more on folic acid supplement during pregnancy were less likely to have preterm birth comparing to those who consumed less (OR = .53, 95%CI = .32-.92). These findings support previous studies that having more consumption on high dietary folate during preconception and pregnancy, as well as folic acid supplement during pregnancy could reduce the risk of preterm birth. การวิจัยแบบแบบมีกลุ่มควบคุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับประทานกรดโฟลิกเสริมและอาหารที่มีโฟเลทสูงในสตรีชาวเนปาลระยะก่อนตั้งครรภ์และระยะตั้งครรภ์ที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวก จำนวน 84 คน เป็น มารดาที่คลอดบุตรก่อนกำหนด (จำนวน 42 คน) และ คลอดบุตรครบกำหนด (จำนวน 42 คน) ที่โรงพยาบาล แห่งหนึ่งในเมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ในระหว่าง เดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ชุดที่ให้กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ตอบเอง ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถาม การรับประทานกรดโฟลิกเสริมในระยะก่อนตั้งครรภ์และ ระยะตั้งครรภ์ และแบบสอบถามการรับประทานอาหารที่ มีโฟเลทสูงในระยะก่อนตั้งครรภ์และระยะตั้งครรภ์ ข้อมูล เกี่ยวกับการคลอดได้จากบันทึกของโรงพยาบาล วิเคราะห์ ข้อมูลด้วย สถิติพรรณา การทดสอบที การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบมัลติเปิล ผลการวิจัยพบว่า ในระยะก่อนตั้งครรภ์และระยะ ตั้งครรภ์ สตรีกลุ่มตัวอย่างที่รับประทานอาหารที่ มีโฟเลทสูง มากกว่า มีการคลอดก่อนกำหนดน้อยกว่าสตรีที่รับประทาน อาหารที่มีโฟเลทสูงน้อยกว่า (OR = .20, 95%CI = .06-.67 และ OR = .53, 95%CI = .32-.92 ตามลำดับ) การรับประทาน กรดโฟลิกเสริมมาก ในระยะก่อนตั้งครรภ์ไม่มีความสัมพันธ์ กับการคลอดก่อนกำหนด แต่การรับประทานกรดโฟลิก เสริมมากในระยะตั้งครรภ์มีการคลอดก่อนกำหนดน้อยกว่า เมื่อเทียบกับสตรีที่รับประทานกรดโฟลิกเสริมน้อย (OR = .53, 95%CI = .32-.92) ผลการวิจัยครั้งนี้สนับสนุน ผลการวิจัยที่ผ่านมาว่าการรับประทานสารอาหารที่มี โฟเลทสูงในระยะก่อนตั้งครรภ์และระยะตั้งครรภ์ รวมทั้ง การรับประทานกรดโฟลิกเสริมในระยะตั้งครรภ์ สามารถลด ความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้Downloads
Issue
Section
Articles