ผลของโปรแกรมการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงต่อความกลัวการคลอดและการรับรู้ ประสบการณ์การคลอดในผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรก
Keywords:
โปรแกรมการสนับสนุนในระยะคลอด, วัยรุ่น, ครรภ์แรก, การคลอด, ความกลัวAbstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงต่อความกลัวการคลอดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอด ของผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรกที่มาฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2561 จำนวน 47 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 22 คน กลุ่มทดลองจำนวน 25 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิง กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความกลัวการคลอด และแบบประเมินการรับรู้ประสบการณ์การคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่า ผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรกในกลุ่มทดลองส่วนใหญ่เลือกมารดาตนเองเป็นผู้ให้การสนับสนุนในระยะคลอดมีความกลัวการคลอดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมทั้งในระยะปากมดลูกเร็วและภาพรวมการคลอดทั้งหมดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t45 = 3.605, p < .01 และ t45 = 5.946, p < .001 ตามลำดับ) และมีการรับรู้ประสบการณ์ การคลอดดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t45 = -3.855, p < .001) จากผลการวิจัยเสนอแนะว่าพยาบาลห้องคลอดควรจัดให้ญาติผู้หญิงเข้าให้การสนับสนุน ดูแลผู้คลอดในระยะคลอดโดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรก เพื่อช่วยลดความกลัวและส่งเสริมการรับรู้ประสบการณ์การคลอดที่ดีแก่ผู้คลอด The purpose of this quasi experimental research aimed to examine effects of a female relative support in labor program between first-time adolescent mothers who received labor support program by a female relative and those who received only routine nursing care. The participants were 47 of first-time adolescent mothers who attended antenatal care and gave birth at Sawanpracharak hospital, Nakhon Sawan province from February to May 2018. They were assigned into the control group (n = 22) and the experimental group (n = 25) by purposive sampling. The experimental group received both routine care and a female relative support in labor program while the control group received only routine nursing care. Data were collected by using a demographic record form, the Delivery Fear scale, and the perception of childbirth experience questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and independent t-test. The results revealed that the participants in the experimental group chose their mothers to provided labor support and had a significantly lower fear of childbirth than those in the control group during the active phase and throughout the process of delivery (t45 = 3.61, p < .01 and t45 = 5.95, p < .001, respectively). The participants in the experimental group also had significantly more positive perception of childbirth experience than those in the control group (t45 = -3.86, p < .001). These findings suggest that the nurse-midwives in labor rooms should support a female relative to give labor support for parturient especially for first-time adolescent mothers to help decrease fear of childbirth and to enhance positive perception of childbirth experience.Downloads
Issue
Section
Articles