ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแล และติดตามทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล

Authors

  • วนิสา หะยีเซะ
  • ธิดารัตน์ หวังสวัสดิ์
  • วิมลวรรณ ดำคล้าย
  • นุจรี ไชยมงคล

Keywords:

โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, อสม., ทารกเกิดก่อนกำหนด, ความรู้, การดูแลและติดตามทารก

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านในการดูแลและติดตามทารกเกิดก่อนกำหนด หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลต่อความรู้และพฤติกรรมในการดูแลและติดตามทารกเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของทารกเกิดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวก จำนวน 20 คน คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่นักวิจัยจัดขึ้น และทารกเกิดก่อนกำหนดในหมู่บ้านที่ต้องดูแลและติดตามในช่วงอายุ 12 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบความรู้ มีค่าความเชื่อมั่นของ KR-20 เท่ากับ .80 และแบบสอบถามพฤติกรรมในการดูแลและติดตามทารกเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของทารกเกิดก่อน กำหนด มีค่าความเชื่อมั่นของอัลฟาครอนบาคเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที          ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการได้รับโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของทารกเพิ่มขึ้นจากก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<.01) และพฤติกรรมการดูแลและติดตามทารกเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่าพยาบาลสามารถนำไปพัฒนารูปแบบ ในการเพิ่มศักยภาพการดูแลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านร่วมกับผู้ดูแลที่บ้านเพื่อให้สามารถดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหมู่บ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น           This one-group pretest-posttest quasi-experimental study aimed to examine effect of the perceived self-efficacy promotion program of village health volunteers in caring and Follow-up preterm infants after discharge from hospitals. A convenience sampling was used to recruit 20 participants of village health volunteers, who already attended the workshop training for caring of preterm infants organized by the researchers. Moreover, in their villages must have preterm infants with aged about 12 months. Research instruments consisted of a demographic question­naire, the knowledge test with KR-20 of .80, and the questionnaire of behavior in caring and follow-up infants to respond basic needs of preterm infants with Cronbach’s alpha reliability of .85. Data were analyzed by using frequency, percent, mean, standard deviation, and t-test.          The results revealed that after receiving the program, the knowledge and caring behaviors and follow-up infants were significantly higher than before receiving the program (p<.01). Therefore, nurses should further develop the nursing intervention based on these findings in order to enhance ability of village health volunteers together with a family caregiver to provide effective care for preterm infants in their villages.

Downloads