อิทธิพลของปัจจัยด้านจิตสังคมที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุในชุมชน
Keywords:
ความสุข, ผู้สูงอายุ, ชุมชน, การมองโลกในแง่ดี, พลังสุขภาพจิตAbstract
การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุขและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของผู้สูงอายุในชุมชน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 107 คน เป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนเขตตำบลปลวกแดง จังหวัดระยอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความสุข แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตน แบบวัดการมองโลกในแง่ดี แบบวัดพลังสุขภาพจิต และแบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัว มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81, .80, .70, .80 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสุขอยู่ในระดับสูง (M = 4.72, SD = 18) การมองโลกในแง่ดีและพลังสุขภาพจิตสามารถร่วมทำนายความสุขของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 18.6 ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ การมองโลกในแง่ดี (b = .728, p < .001) และรองลงมาคือพลังสุขภาพจิต (b = .202, p < .01) การรับรู้ความสามารถของตนและสัมพันธภาพในครอบครัวไม่สามารถทำนายความสุขได้ (p > .05) ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์รวมทั้งพยาบาล ในการวางแผนหรือออกแบบโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความสุขของผู้สูงอายุ โดยเน้นการส่งเสริมการมองโลกในแง่ดี และพลังสุขภาพจิตของผู้สูงอายุเหล่านี้ This predictive correlational study aimed to examine happiness and determine its influencing factors among the older adults residing. A simple random sampling was used to recruit a sample of 107 older adults residing in Pluagdang sub-district community, Rayong province. Research instruments were a demographic record form, the happiness questionnaire, the perceived self-efficacy questionnaire, the optimism questionnaire, the resilience questionnaire, and the family relationship questionnaire. Their Cronbach’s alpha reliability were .81, .80, .70, .80 and .82, respectively. Descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficients, and Stepwise multiple regression analysis were employed for data analyses. The results revealed that the sample reported happiness at a high level (M = 4.72, SD = .18). Optimism and resilience together accounted for 18.6% of variance in prediction of happiness. The best predictor was optimism (b = .728, p < .001), and followed by resilience (b = .202, p < .01). Whereas perceived self-efficacy and family relationship could not predict happiness (p > .05). These findings could be used as baseline data for the health personnel including nurses to plan and develop a program to enhance happiness by placing an emphasis on promoting optimism and resilience among these older adults.Downloads
Issue
Section
Articles