ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง

Authors

  • อาทิตยา อติวิชญานนท์
  • สายฝน ม่วงคุ้ม
  • วชิราภรณ์ สุมนวงศ์

Keywords:

การล้างไต, ทางช่องท้อง, ภาวะซึมเศร้า

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนาย ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยประกอบด้วยภาวะโภชนาการ ความแตกฉานด้านสุขภาพ และการสนับสนุนจากครอบครัว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่มารับการรักษาที่คลินิกล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 119 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินภาวะโภชนาการ 3) แบบประเมินความแตกฉานด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน 4) แบบประเมินการรับรู้การสนับสนุนจากครอบครัว และ 5) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมี ขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้าใน ร้อยละ 50.42 ภาวะโภชนาการ และการรับรู้การสนับสนุนจากครอบครัวสามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าได้ ร้อยละ 24.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <  .05) ผลการศึกษานี้ให้ข้อเสนอแนะว่าบุคลากรทางด้านสุขภาพควรมีการประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเพื่อสามารถวางแผนช่วยเหลือผู้ป่วยได้ถูกต้องและรวดเร็ว และส่งเสริม การสนับสนุนจากครอบครัวที่เหมาะสม รวมถึงการให้คำแนะนำเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการ           This research aimed to examine predictors of depression based on factors including nutritional status, health literacy and family support among patients undergoing continuous ambulatory peritoneal dialysis. One hundred and nineteen participants were attending outpatient department, CAPD clinic at Chonburi hospital and Burapha university hospital. The instruments consisted of 1) personal data record form, 2) Mini Nutrition Assessment scale, 3) health literacy scale, 4) social support scale and 5) patient health questionnaire-9. Data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression. The results showed 50.42% of participant had depression. Nutritional status and family support could explain 24.1% variability in depression (p < .05). These findings suggest that health care providers should screening depression among CAPD patients periodically to help clients correctly and rapidly and encourage family support appropriately. Moreover, they should advise to promote nutritional status.

Downloads