การทดสอบคุณสมบัติแบบวัดพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของเด็มสเตอร์ ฉบับแปลเป็นภาษาไทย
Keywords:
แบบวัดพฤติกรรม, เด็มสเตอร์, พยาบาลเวชปฏิบัติAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีเป็นการวิจัยเพื่อทดสอบคุณสมบัติแบบวัดพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของเด็มสเตอร์ ที่นำมาแปลเป็นฉบับภาษาไทย โดยการวิเคราะห์ความตรง ความเชื่อมั่น และวิเคราะห์โครงสร้างของแบบวัดพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของเด็มสเตอร์ ผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญได้แปลแบบวัดพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของเด็มสเตอร์ เป็นฉบับภาษาไทย ด้วยวิธีการแปลกลับแบบไม่ทราบต้นฉบับ หลังจากนั้นทำการประเมินคุณภาพแบบวัดพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของเด็มสเตอร์ ฉบับภาษาไทยด้วยการวิเคราะห์หาความเชื่อมั่น และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลเวชปฏิบัติที่ปฏิบัติงานในภาคตะวันออกจำนวน 311 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบวัดพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของเด็มสเตอร์ ฉบับแปลเป็นภาษาไทย วิเคราะห์ด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบาค และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน ของเด็มสเตอร์ ฉบับแปลเป็นภาษาไทย มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .89 และมีโครงสร้าง 7 องค์ประกอบ โดยแต่ละองค์ประกอบมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .81, .76, .70, .68, .65, .73 และ .60 ตามลำดับการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพสามารถนำแบบวัดนี้ไปใช้ในการวัดพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางในการพัฒนาและกำหนด บทบาทและขอบเขตของพยาบาลเวชปฏิบัติ The purpose of this study is to examine Thai Dempster Practice Behaviors Scale [DPBS]. A blind back translation method is employed by the researchers and experts. Psychometric analysis was used that included reliability and exploratory factor analysis. A random sampling method was used to recruit 311 nurse practitioners in Eastern region. Data collection was by demographic record form and a self-administered DPBS questionnaire. Data was analyzed by percentage, Cronbach’s alpha coefficient, and factor analysis. The results of the study revealed that the Cronbach’s alpha coefficient of the Thai version of the DPBS of nurse practitioners was .89 and factor analysis showed 7 factors of structure was an appropriate structure. The Cronbach’s alpha coefficient of each factor was .81, .76, .70, .68, .65, .73, and .60 respectively. The findings suggest that nurses and healthcare personnel can use this scale to evaluate the practice behaviors of nurse practitioners as a means for finding ways to scope the role of nurse practitioners.Downloads
Issue
Section
Articles