ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในการดูแลตนเองด้วยการบริหารร่างกายแบบมณีเวชต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานของกลุ่มเกษตรกร อำเภอปง จังหวัดพะเยา

Authors

  • กันจณา สุทาคำ
  • มุกดา หนุ่ยศรี
  • วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล

Keywords:

เกษตรกร, อาการ, ปวดกล้ามเนื้อ, การบริหารร่างกาย, แบบมณีเวช, จังหวัดพะเยา

Abstract

          การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในการดูแลตนเองด้วยการบริหารร่างกายแบบมณีเวชต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการ ทำงานของกลุ่มเกษตรกร อำเภอปง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวกเป็นเกษตรกร จำนวน 60 คน ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานและได้รับการรักษาโดยใช้ยาแก้ปวดที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลออย ได้รับโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในการดูแลตนเองต่อเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานด้วยวิธีการบริหารร่างกายแบบมณีเวชนาน 8  สัปดาห์ และเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝายแก้วได้รับการดูแล ตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อลด อาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานแบบประเมินระดับอาการปวดกล้ามเนื้อ และแบบบันทึกการรับประทานยาแก้ปวด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบที และแมนวิทนีย์ยู          ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวัง ในผลลัพธ์และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบและมีอาการปวดกล้ามเนื้อและปริมาณการใช้ยาแก้ปวดหลังน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการวิจัยนี้ให้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในการดูแลตนเองด้วยการบริหารร่างกายแบบมณีเวชมีประสิทธิภาพ พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับเกษตรกรในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการดูแลตนเองเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน และไม่ต้องใช้ยาแก้ปวดในการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน            The purpose of this quasi-experimental research was to examine effects of the self-care competency developing program by Maneeveda exercise on self-care behavior to decrease work related myalgia among farmers at Pong district, Phayao province. A convenience sampling technique was used to recruit a sample of 60 farmers with work related myalgia who received painkillers at Sub-district Health Promoting Hospitals (SHPH). There were 30 participants from Oil SHPH in the experimental group receiving the self- care competency developing program by Maneeveda exercise on self-care behavior to decrease work related myalgia for 8 weeks. The comparison group was 30 participants from Ban Fay Keaw SHPH receiving the usual care. Research instruments for data collection consisted of a demographic record form, the perception in self-care efficacy to decrease work related myalgia (DWRM), the expectations in self-care outcomes to DWRM, the self -care behaviors to DWRM questionnaires, and the pain score assessment form. Data were analyzed by using descriptive statistics, t-test, and Mann-Whitney U test.            The results revealed that after receiving the program, participants in the intervention group had perceived their self-care efficacy to DWRM, expectations in self-care outcomes to DWRM, and self-care behaviors to DWRM significantly higher than those in the comparison group (p < .05), and pain scores and painkiller drugs used significantly lower than those in the comparison group (p < .05). These findings suggest that the self-care competency developing program by Maneeveda exercise is effective. Nurse practitioners in communities could utilize this program for farmers in other communities. Consequently, competency for self-care behavior to decrease work related Myalgia would develop, and no need to use   painkiller drugs to decrease work related Myalgia.

Downloads