รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพโรคหลอดเลือดสมองตามมิติวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่งในจังหวัดนครปฐม

Authors

  • นงพิมล นิมิตรอานันท์
  • ศศิธร รุจนเวช
  • จุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล

Keywords:

โรคหลอดเลือดสมอง, กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ, รูปแบบการสื่อสาร, ความเสี่ยงทางสุขภาพ

Abstract

         การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายความเชื่อทางสุขภาพของกลุ่มไทยทรงดำที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง และเพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนไทยทรงดำแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม พัฒนากรอบการวิจัยจากการประยุกต์แนวคิดการเสริมพลังชุมชนและการสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพ ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน อสม. ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและญาติผู้ดูแลในชุมชน จำนวน 55 คน เก็บข้อมูลแบบผสมผสาน ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2559 - เดือนมีนาคม 2560 กระบวนการวิจัยประกอบด้วย การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ การจัดการความเสี่ยง การกำกับติดตามและการประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทีและการวิเคราะห์เนื้อหา          ข้อค้นพบการวิจัย ชาวไทยทรงดำกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ตอนปลายถึงวัยชรา ยังคงมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีน้ำใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความสัมพันธ์แบบเครือญาติมีความเชื่อว่าการเจ็บป่วยไม่ได้มีสาเหตุสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติแต่เชื่อว่าเกิดจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม การพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงฯ ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน การออกแบบช่องทางการสื่อสารและสื่อพื้นบ้าน และความเป็นเอกลักษณ์ไทยทรงดำการบูรณาการองค์ประกอบดังกล่าว ทำให้สามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดการแก้ปัญหาสุขภาพอย่างยั่งยืนด้วยการใช้ทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนเป็นฐาน           This participatory action research aimed to describe the health believes of traditional Tai Song Dam culture group with stroke risk and to develop health risk communication pattern by network participation in the Tai Song Dam community of Nakhon Pathom province. The conceptual framework was applied community empowerment and health risk communication concept. The total 55 informants included community leaders, folk experts, village health volunteers, caregivers and patients at risk from May 2016 until March 2017. The research process consisted of health risk assessment, health risk management, self-monitoring, and self-evaluation. Data were analyzed using descriptive statistics, paired t test and content analysis.          The results revealed that the traditional Tai Song Dam villagers were the late adult to elderly stage. The particpants had simple lifestyle, generous support, and kinship network relationship. They believed the stroke was not caused from a supranatural but related to inappropriate health behaviors. The development of the health risk communication pattern comprised unique Tai Song Dam culture. This integrated components can be efficiently reduced stroke risk and contributed to sustainable health solutions with community-based culture.

Downloads