ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน

Authors

  • กุสุมล แสนบุญมา
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • อุษา เชื้อหอม

Keywords:

มารดา, ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน, ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด, ผ่าตัดคลอด

Abstract

          ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นการเปลี่ยนแปลงที่วิกฤติทางอารมณ์ของมารดาหลังคลอด มีผลกระทบทั้งต่อมารดาหลังคลอด ทารกและครอบครัว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาในระยะ 4-8 สัปดาห์หลังคลอด ที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน และมารับบริการตรวจสุขภาพหลังคลอดบุตรหรือพาบุตรมารับบริการที่หน่วยเด็กสุขภาพดี ที่โรงพยาบาลระยอง โรงพยาบาลบางละมุง หรือคลินิกเอกชน/โรงพยาบาลเอกชน กรณี จำนวน 98 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างตอบเอง ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แบบสอบถามความเครียดจากการดูแลบุตร แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน          ผลการวิจัยพบมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉินมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คิดเป็นร้อยละ 20.20 อายุ ของมารดา รายได้ของครอบครัว ระยะเวลาของบุตรที่ต้องรับการรักษาที่หออภิบาลทารกแรกเกิด ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความเครียดจากการดูแลบุตรและการสนับสนุนทางสังคมร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉินได้ร้อยละ 56 (Adjusted R2 = .53, F6, 91 = 19.307, p < .05) โดยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมากที่สุด (β = -.59, p < .05) รองลงมาคือความเครียดจากการดูแลบุตร (β = .20, p < .05) และระยะเวลาของบุตรที่ต้องเข้ารับการรักษาที่หออภิบาลทารกแรกเกิด (β = .17, p < .05)          ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลผดุงครรภ์ควรมีการจัดโปรแกรมส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการจัดการความเครียดจากการดูแลบุตรหลังคลอด โดยเฉพาะในรายที่บุตรต้องรักษาตัวที่หออภิบาลทารกแรกเกิดเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดากลุ่มนี้            Postpartum depression is an emotional change of the mothers after birth that affect the mothers themselves, infants, and family. This study aimed to determine predicting factors of postpartum depression among women with emergency cesarean section. A convenience sample of 98 mothers during their 4 to 8 weeks postpartum who gave a birth by emergency cesarean section and visited postpartum clinic or took their babies to well-baby clinic Rayong regional hospital, Banglamoung hospital, or private clinic/hospital were recruited in this study. Data were collected by self-report questionnaires including demographic questionnaire, Thai Edinburgh Postnatal Depression (EPDS) scale, Self-Esteem Scale, Thai Childcare Stress Inventory, and Postpartum Support questionnaires. Descriptive statistics and standard multiple regression analysis were used to analyze data.          Results of the study revealed that 20.20 % of mothers with emergency cesarean section experienced postpartum depression. Maternal age, family income, duration of infant hospitalized in neonatal intensive care unit (NICU), self-esteem, childcare stress, and social support altogether explained 56% of variance in postpartum depression (Adjusted R2 = .53, F6, 91 = 19.307, p < .05). The most important predictor was self-esteem (β = -.59, p < .05) followed by childcare stress (β = .20, p < .05) and duration of infant hospitalized in NICU (β = .17, p < .05). Findings of the study suggest that nurse-midwives should design interventions to promote self-esteem and to help management of child care stress especially mothers with infants hospitalized in NICU to prevent postpartum depression among this group of mothers.

Downloads