ประสบการณ์การเปลี่ยนผ่านของนักศึกษาพยาบาลที่ฝึกปฏิบัติงานครั้งแรกในหอผู้ป่วย

Authors

  • ภรณี สวัสดิ์-ชูโต
  • อาภา หวังสุขไพศาล

Keywords:

นักศึกษา, ประสบการณ์, การเปลี่ยนผ่าน, การฝึกปฏิบัติงาน, หอผู้ป่วย

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายแก่นสาระของประสบการณ์การเปลี่ยนผ่านของนักศึกษาพยาบาลที่ฝึกปฏิบัติงานครั้งแรกในหอผู้ป่วย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยตามแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงอุตรวิสัย  (Transcendental Phenomenology) ผู้ให้ข้อมูลคือ นักศึกษาพยาบาลที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ แห่งหนึ่งและขึ้นฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลในหอผู้ป่วยเป็นวิชาแรกในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โดยได้  ฝึกปฏิบัติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 วัน หรือ 40 ชั่วโมง จำนวน 14 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการของโคไลซ์ซี          ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์การฝึกปฏิบัติงานครั้งแรกในหอผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล  ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลักคือ 1) ก่อนจะเริ่มฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2) การพยายามใช้ชีวิตระหว่างฝึก ปฏิบัติงานอย่างราบรื่น 3) การเรียนรู้จากประสบการณ์การฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย และ 4) เปิดประตูสู่โลกของวิชาชีพพยาบาล ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับอาจารย์พยาบาลในการจัดการเรียน การสอนในภาคปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถก้าวผ่านประสบการณ์ชีวิตในการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี           This research objective was to describe the core essence of transition experiences of nursing students’ clinical initial practice in hospitals. Transcendental phenomenology was   used in this study. Research informants were 14 students studying the first nursing practicum subject for more than 5 days or 40 hours. Data were collected by in-depth interview and   purposive sampling was used in this study. Colaizzi procedural steps were guided for analysis.          The results showed that lived experiences of nursing students during their initial professional practices in hospitals including: 1) Before practicing professional experiences 2) Endeavour to live a smooth live during practice 3) Learning from practice experiences on the   ward and 4) Opening the door to the world of nursing. The results of this study can be used as general information for nursing instructors effectively manage teaching method for practical section more effective. To help nursing   students progress through life experiences in practice on the hospital ward as well.

Downloads