ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมของมารดา ในการดูแลบุตรวัยหัดเดิน ที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน

Authors

  • จุฑาทิพย์ นามม่อง
  • ณัชนันท์ ชีวานนท์
  • จินตนา วัชรสินธุ์

Keywords:

การรับรู้, สมรรถนะ, พฤติกรรม, การดูแล, การติดเชื้อ, ทางเดินหายใจส่วนล่าง

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรม ของมารดาในการดูแลบุตรวัยหัดเดินที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ ส่วนล่างเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาที่มีบุตรอายุ 1-3 ปี ที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน และเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 42 ราย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 21 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามพฤติกรรม ของมารดาในการดูแลบุตรที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการทดสอบแบบสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test)          ผลการวิจัยพบว่า มารดากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน มีผลต่างคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการดูแลบุตรวัยหัดเดินที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลันสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลที่ให้การดูแลเด็กควรนำโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนนี้ไปใช้กับมารดาที่มีบุตรวัยหัดเดินที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน เพื่อให้มารดามีพฤติกรรมในการดูแลบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น            The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of the perceived self-efficacy promotion program on mother’s caring behavior for their toddlers with acute lower respiratory infection. The sample included mothers of children with acute lower respiratory infection received care at a pediatric ward of Kratumbean Hospital, Samutsakorn province. Data were collected between July-August, 2018. The sample included 42 mothers were selected to either the experimental and control group, 21 per group. The experimental group received the perceived self-efficacy promotion programwhereas the control group received regular nursing care. Research instruments consisted of the perceived self-efficacy program, demographic record form, and caring behaviors questionnaire. The reliability was .82. Data were analyzed by using descriptive statistics and independent t-test.              The result revealed that after received the perceived self-efficacy promotion program, the mean score difference between pre-test and post-test scores on caring behaviors for toddler with acute lower respiratory infection was significant higher than those in control group (p < .05). From these findings, it suggested that pediatric nurses should apply this program to the mothers of toddlers with acute lower respiratory infection in order to promote them to have more efficient caring behaviors.

Downloads