ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลและการสนับสนุนจากสามีต่อความรู้สึกไม่แน่นอนของมารดาที่มีบุตรเกิดก่อนกำหนด

Authors

  • อัจฉริยา ปุนนา
  • นฤมล ธีระรังสิกุล
  • ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์

Keywords:

ความรู้สึก, ข้อมูล, สามี, มารดา, บุตรเกิดก่อนกำหนด

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลและการสนับสนุนจากสามีต่อความรู้สึกไม่แน่นอนของมารดาที่มีบุตรเกิดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่าง คือมารดาที่มีบุตรเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 30 ราย คัดเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับทารกเกิดก่อนกำหนด และการสนับสนุนจากสามี เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของมารดาและทารก แบบประเมินความรู้สึกไม่แน่นอนของมารดา โปรแกรมการให้ข้อมูลและการสนับสนุนจากสามี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติ t-test          ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังสิ้นสุดการทดลองมารดากลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกไม่แน่นอนต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับมารดาที่มีบุตรเกิดก่อนกำหนด เพื่อลดความรู้สึกไม่แน่นอนของมารดา และทำให้บุตรได้รับการดูแลที่ดีจากครอบครัวต่อไป           This quasi-experimental research aimed to examine the effect of information and husband support program on uncertainty in mothers with preterm infants. Participants included 30 mothers with preterm infants receiving medical treatment at NICU, Queen Savang Vadhana Memorial Hospital, Chonburi province. Fifteen participants were in the control group receiving the usual nursing care. Fifteen mothers were in the experimental group receiving the information and husband support program. Data were collected since November 2017 to January 2018. The research instruments consisted of the information and husband support program, the demographic data record form, and Parental Perception of Uncertainty scale. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test.          The result revealed that after the experiment, the mean scores of uncertainty in the experimental group was significantly lower than before receiving the program and lower than those in the control group (p<.001). Therefore, nurse and healthcare team could apply the information and husband support program to reduce uncertainty among mothers with preterm infants and resulted in providing the good care for their infants.

Downloads