เปรียบเทียบทุนชีวิตระหว่างวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และไม่เคยตั้งครรภ์
Keywords:
ทุนชีวิต, วัยรุ่นตั้งครรภ์Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนชีวิตและเปรียบเทียบความแตกต่างทุนชีวิตระหว่างวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และไม่เคยตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นหญิงที่ตั้งครรภ์และไม่เคยตั้งครรภ์อายุ 10 - 19 ปี จำนวน 200 คน ในจังหวัดอุบลราชธานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์มีภาพรวมทุนชีวิต อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 64.73) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุนชีวิตด้านพลังครอบครัวอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 72.04) พลังสร้างปัญญาและพลังตัวตนและอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 66.88 และ 66.80 ตามลำดับ) ส่วนพลังเพื่อนและกิจกรรม และ พลังชุมชน ไม่ผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 59.61 และ 59.19 ตามลำดับ) สำหรับวัยรุ่นที่ไม่เคยตั้งครรภ์มีภาพรวมทุนชีวิตอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 71.16) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุนชีวิตด้านพลังครอบครัวอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 81.58) พลังสร้างปัญญา และพลังตัวตน อยู่ในระดับดี (ร้อยละ 71.70 และ 71.40 ตามลำดับ) ส่วนพลังชุมชนและพลังเพื่อนและกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง (ร้อยละ 68.33 และ 65.22 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบทุนชีวิตระหว่างวัยรุ่นกลุ่มที่ตั้งครรภ์และกลุ่มที่ไม่เคยตั้งครรภ์ พบว่า วัยรุ่นที่ไม่เคยตั้งครรภ์มีทุนชีวิตทุกด้านสูงกว่าวัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้ช่วยเพิ่มความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทุนชีวิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพยาบาลหรือบุคลากรด้านสุขภาพในการสร้างเสริมทุนชีวิตทุกด้านของวัยรุ่นไทย เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิงต่อไป The purposes of this study were to describe life assets and examine the life asset differentness between pregnant and non-experienced pregnant adolescents. The sample were 100 pregnant adolescents and 100 non-experienced pregnant adolescents aged 10 - 19 year olds. Data were analyzed using descriptive statistics and independent t-test. The results showed that overall life assets, pregnant adolescents were at fair level (64.73%). Each aspect life assets found that the power of family was at good level (72.04%); the power of wisdom and the power of self were at fair levels (66.88% and 66.80% respectively); the power of peer and activity and the power of community were not passing criteria (59.61% and 59.19% respectively). For non-experienced pregnant adolescents, the overall life assets were at good level (71.16 %). Among each aspect life assets found that the power of family was at very good level (81.58 %); the power of wisdom and the power of self were at good levels (71.70% and 71.40% respectively); the power of community and the peer and activity were at fair levels (68.33% and 65.22 % respectively). All aspect of life assets among non-experienced pregnant adolescents were significantly higher than those in pregnant adolescents at .05. Results of the study contribute to knowledge and understanding life assets. It will be beneficial to nurses or health personnel to enhance all life assets to prevent pregnancy among Thai female adolescents.Downloads
Issue
Section
Articles