ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะพึ่งพาต่อความสามารถในการลงมือปฏิบัติการดูแลเพื่อป้องกันแผลกดทับ
Keywords:
การดูแล, ผู้ดูแล, การป้องกันแผลกดทับ, ผู้ป่วยสูงอายุAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะพึ่งพา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะพึ่งพาที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดราชบุรี สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 28 ราย และกลุ่มควบคุม 28 ราย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะพึ่งพาโดยผู้ดูแลมีส่วนร่วม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ แบบประเมินความ สามารถในการปฏิบัติการดูแลเพื่อป้องกัน การเกิดแผลกดทับ แบบประเมินความเสี่ยงด้านร่างกายต่อการเกิดแผลกดทับของบราเดน และแบบประเมินการเกิดแผลกดทับของ Bergstrom วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติที และสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลเพื่อป้องกันแผลกดทับใน ด้านการดูแล ผิวหนังและการรักษาความสะอาด การช่วยเหลือด้านการเคลื่อนไหว และการดูแลเรื่องอาหารและน้ำของกลุ่มทดลอง ดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) นอกจากนี้ยังพบว่า อุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะพึ่งพาของกลุ่มทดลอง น้อยกว่าในกลุ่มควบคุม มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการดูแลนี้สามารถช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะพึ่งพาได้ ดังนั้นควรส่งเสริมให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะพึ่งพามีความรู้และมีความสามารถในการลงมือปฏิบัติการดูแลเพื่อป้องกันแผลกดทับในด้านการดูแลผิวหนังและการรักษาความสะอาด และการดูแลเรื่องอาหารและน้ำ This experimental research aimed to study the effects of a caring program on caregiver’s operational capabilities of pressure ulcer prevention in dependent older patients at risk group at a tertiary care hospital in Ratchaburi province. The research conceptual framework is based on Orem’s self-care deficit theory (2001). The sample consisted of 56 older patients. They were randomly assigned to the control group (n=28) and the experimental group (n=28). The control group received routine nursing care while the experimental group received caring program on caregiver’s operational capabilities of pressure ulcer prevention in dependent older patients at risk. Research data were collected by using caregiver’s operational capabilities of pressure ulcer prevention form, Bergstrom’s skin condition assessment and the Braden risk assessment scale. Research data were analyzed by using descriptive statistics, t-test and Chi-square. The results revealed that the mean score on caregiver’s operational capabilities of pressure ulcer prevention in dependent older patients at risk of the experimental group was significantly higher than that of the control group (p-value <.05). The incidence rate of pressure ulcer in dependent older patients of the experimental group was significantly lower than those of the control group (p-value < .05). Based on the results of this research, it is recommended that the Caring Program on Caregiver’s Operational Capabilities of Pressure Ulcer Prevention should be applied in dependent older patients at risk group to promote their caregiver’s knowledge and capabilities of pressure ulcer prevention.Downloads
Issue
Section
Articles