ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพฤติกรรมการออกกำลังกายและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ

Authors

  • แจ่มจันทร์ ประทีปมโนวงศ์

Keywords:

การปฏิบัติ, กิจวัตรประจำวัน, พฤติกรรม, การออกกำลังกาย, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, โรคหลอดเลือดหัวใจ

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน พฤติกรรมการออกกำลังกายกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรคหัวใจ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2561 คัดเลือกโดยใช้การสุ่มแบบง่าย จำนวน 94 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล แบบสอบถามคุณภาพชีวิต และแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบลำดับที่ของสเปียร์แมน          ผลการวิจัย พบว่า คะแนนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดหัวใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (average = 90.28, S.D. = 12.75) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ระดับการศึกษา ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน อายุ และสถานภาพสมรส (r = .251, p < .05, r = .329, p < .01, r = -.299, p < .01, r = .225, p < .05 ตามลำดับ) ดังนั้นผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจควรได้รับการส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน อีกทั้งควรส่งเสริมให้คู่สมรสเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลและสนับสนุนให้ผู้สูงปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ            This research aimed to examine the relationships between the activities of daily living, the exercise behaviour, and the quality of life in older persons with coronary artery disease. A probability sampling by lottery method without replacement was used to recruit a sample of 94 older persons with coronary artery disease, who were followed up at the outpatient department, Faculty of Medicine, Vajira Hospital, Navamindradhiraj University from August to October 2018. Research instruments included a demographic information form, the Barthel ADL Index, the WHOQOL-BREF-THAI survey, and exercise behaviour questionnaires. Data were analysed by using frequency, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, and Spearman’s rank correlation coefficient.          The results revealed that the total mean score of quality of life was at an intermediate level (average = 90.28, S.D. = 12.75). The factor levels of education, activities of daily living scores, age, and marital status were significantly related to quality of life in older persons with coronary artery disease (r = .251, p < .05; r = .329, p < .01; r = -.299, p < .01; and r = .225, p < .05, respectively). Thus, the older persons with coronary artery disease should be encouraged to perform daily activities. In addition, their spouses should be encouraged to participate in caring for and providing support to older persons with coronary artery disease performing daily activities on their own in order to enhance the quality of life of these older persons.

Downloads