ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองในการให้ยาปฏิชีวนะแก่เด็กวัยเรียน

Authors

  • ชรริน ขวัญเนตร
  • ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี

Keywords:

ยาปฏิชีวนะ, เด็กวัยเรียน, พฤติกรรม, ผู้ปกครอง

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองในการให้ยาปฏิชีวนะแก่เด็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กวัยเรียนและอาศัยในเขตเทศบาลเมืองบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 จำนวน 200 ราย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ปกครองและเด็กวัยเรียน แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับเด็ก แบบสอบถามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อพฤติกรรมการให้ยาปฏิชีวนะแก่เด็ก และแบบสอบถามพฤติกรรมการให้ยาปฏิชีวนะแก่เด็กได้ค่าความตรงของเนื้อหา (IOC) เท่ากับ .75-1, .60-1 และ .60-1 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงด้วยวิธีคูเดอร์ริชาร์ดสันของแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับเด็กเท่ากับ .77 และสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคของแบบสอบถามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อพฤติกรรมการให้ยาปฏิชีวนะแก่เด็กและพฤติกรรมการให้ยาปฏิชีวนะแก่เด็ก เท่ากับ .75 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณ          ผลการวิจัย พบว่า อายุของเด็กและอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการให้ยาปฏิชีวนะแก่เด็กของผู้ปกครองได้ ร้อยละ 15.4 (R2 = .154, F(2,197) = 17.90, p = < .001) โดยอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการให้ยาปฏิชีวนะแก่เด็กของผู้ปกครองมากที่สุด (β = .35, t = 5.28, p = < .001)          ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญต่อพฤติกรรมการให้ยาปฏิชีวนะ แก่เด็กของผู้ปกครอง ดังนั้น ผู้บริหารและบุคลากรด้านสาธารณสุขควรหาแนวทางในการจัดการสภาพแวดล้อมให้ส่งเสริมพฤติกรรมการให้ยาปฏิชีวนะแก่เด็กของผู้ปกครองอย่างถูกต้อง           The purpose of this study was to examine factors influencing parents’ behavior regarding antibiotic use for their school aged children. A total sample of 200 parents who were caregivers of their school age children, live in the municipal Muang Bang Sri Muang, Nonthaburi Province from May to September, 2017. The instruments of the study consisted of the personal information record for parents and school aged children, the knowledge regarding antibiotic used for children questionnaire, the influences of environment on antibiotic used for children questionnaire, and the behavior regarding antibiotic use for children questionnaire. The content validity values (IOC) of three questionnaires were .75-1, .60-1 and .60-1 The reliability values of Kuder-Ricahardson (KR-20) and Cronbach’s alpha coefficient were .77, .75 and .83, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient and Stepwise multiple regression.          The results showed that age of children and the influence of environment could statistically predict parents’ behaviors regarding antibiotic use for children accounting for 15.4 percent of the variance (R2 = .154, F (2,197) = 17.90, p = < .001). Especially, the influence of environment was the best predictor of parents’ behaviors regarding antibiotic use for children (β = .35, t = 5.28, p = < .001)          The findings recommended that the influence of environment was the significant factor on parents’ behaviors regarding antibiotic use for children. Therefore, health care providers should find the processes for managing environment to promote parents’ behaviors regarding antibiotic use for children correctly.

Downloads