การรับรู้ภาวะสุขภาพ วิถีชีวิต และการเป็นแกนนำสร้างเสริมสุขภาพของสตรีมุสลิมในบริบทไทยภาคกลาง

Authors

  • พวงผกา คงวัฒนานนท์
  • ประนอม โอทะกานนท์

Keywords:

ภาวะสุขภาพ, วิถีชีวิตมุสลิม, แกนนำ, สตรีมุสลิม

Abstract

          การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจการรับรู้ภาวะสุขภาพ วิถีชีวิต และความหมายการเป็นแกนนำด้านการสร้างเสริมสุขภาพของสตรีมุสลิม ในบริบทชุมชนมุสลิมไทยภาคกลาง ศึกษาจำนวน 24 คน อายุ 25-71 ปี จากการเลือกแบบเจาะจงและการบอกต่อ เก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก จนกระทั่งข้อมูลอิ่มตัว สร้างความน่าเชื่อถือด้วยวิธีตรวจสอบสามเส้า และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ได้ข้อค้นพบคือ สตรีมุสลิมรับรู้ ภาวะสุขภาพตนแข็งแรงดี ร้อยละ 66.2 ปัญหาสุขภาพที่พบ คือ ภาวะอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ตามลำดับ ผู้หญิงมุสลิมให้ความหมายต่อการเป็นแกนนำการสร้างเสริมสุขภาพ มีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ 1) แกนนำสตรีต้องยึดหลักปฏิบัติของศาสนาอิสลามกับการเป็นผู้หญิงที่ดี : ดูแลลูกดี เชื่อฟังสามี ทำให้ทุกคนในบ้านมีความสุข และเป็นผู้นำเมื่อไม่มีชายในบ้าน 2) แกนนำสตรีมุสลิมต้องมีคุณสมบัติผู้นำทั่วไป: กล้าพูด กล้าทำ นำคนอื่นได้ 3) แกนนำต้องมีสุขภาพดีก่อน จึงจะนำผู้อื่นได้ ทั้ง กาย จิต สังคม การรู้ดีชั่ว และสิ่งแวดล้อม ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่า การจะสร้างแกนนำสตรีมุสลิม ต้องทำความเข้าใจ บริบทสังคมมุสลิม แนวปฏิบัติในหลักศาสนาอิสลาม ความต้องการและข้อจำกัดของสตรีมุสลิม ข้อความรู้ที่ได้นักสุขภาพสามารถนำมาทำความเข้าใจและสร้างแนวทางพัฒนาแกนนำสตรีมุสลิมในการสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป            This qualitative study aimed to understanding the perception of health status, lifestyle, and being the leadership health promotion of Muslim women in context of central area of Thailand. Twenty four participants were Muslin women age 25-31 by using purposive sampling and snowball techniques. Data were collected using focus group and in-depth interviewed until data saturation. Triangulation confirmed trustworthiness. Content analyses was used for data analysis. The findings revealed that participants perceived healthy 66.2 %. Most of them had underlying diseases such as overweight, hyperlipidemia, diabetes mellitus, and hypertension. The meaning of leadership composed of three main themes: 1) Women hold to Islam’s principle about good women: take care her children effectively, comply with her husband, take care all kindred happiness, and being leadership women that was no man in home 2) Women leader were a leadership characteristic: dare to speak, dare to act and lead people to do something. 3) Women were healthy in order to lead someone to practice: Physical, Psychological, social, spiritual, and environment wellbeing. The findings suggested that promoting to be a leadership Muslim women should understand health status, the lifestyle, need, and practice on Islam principle of Muslim women. Health care provider can use this findings to plan for developing the effective health promotion Muslim women leaders.

Downloads