ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาวัยรุ่น โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
Keywords:
ความชุก, ปัจจัย, ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด, มารดาวัยรุ่น, โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือมารดาวัยรุ่นหลังคลอด อายุระหว่าง 14-19 ปี ที่มารับบริการตรวจหลังคลอด 6 สัปดาห์ ที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านการตั้งครรภ์และการคลอดและข้อมูลด้านจิตสังคม และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาหาอัตราความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการตั้งครรภ์ โดยใช้สถิติ และ ไค-สแควร์ (Chi - square test) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมารดาวัยรุ่นหลังคลอด 128 คน มีความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 19.5 โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) ได้แก่ การใช้ชีวิตคู่ การไม่ได้วางแผนตั้งครรภ์ อาการเวียนศีรษะ อาการท้องอืด ท้องผูก ผิวคล้ำในขณะตั้งครรภ์ และการมีภาวะซึมเศร้าในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน ดังนั้น พยาบาลควรพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ในการวางแผนการป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าในมารดาวัยรุ่น This study aimed to examine the prevalence and factors related to postpartum depression in teenage mothers. The samples were 128 teenage mothers, aged between 14-19 years old, who had a 6-week postpartum during a visit at Nopparat Rajathanee Hospital. The data were collected through research instruments including record form of demographic information, pregnancy and delivery history and psychosocial information, and the Thai-version Edinburgh Postnatal Depression Scale. Descriptive statistics were used to analyze prevalence rate of postpartum depression. A chi-square test was used to analyze the relationship between factors and postpartum depression. The results showed that 25 out of 128 teenage mother samples had postpartum depression (19.5 %). Factors were significantly related to postpartum depression were family life, dizziness, flatulence, constipation, pigmentation during pregnancy and previous depression. Nurses should consider these factors in developing a care plan or guideline to prevent depression in adolescent mothers.Downloads
Issue
Section
Articles