เปรียบเทียบการรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอดการรับรู้ประสบการณ์การคลอด และความพึงพอใจต่อ การบริการระหว่างผู้คลอดปกติและผ่าตัดคลอด

Authors

  • มาณี น้าคณาคุปต์
  • พิไลวรรณ ใจชื้น
  • ทัศนีย์วรรณ พฤกษาเมธานันท์

Keywords:

การรับรู้, กระบวนการ, การดูแลในระยะคลอด, การรับรู้ประสบการณ์การคลอด, ความพึงพอใจต่อการบริการ, การคลอดปกติ, การผ่าตัดคลอด

Abstract

          การศึกษาแบบพรรณนาเชิงเปรียบเทียบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอด ประสบการณ์การคลอด และความพึงพอใจต่อการบริการระหว่างผู้คลอดปกติและผ่าตัดคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดที่ได้รับการดูแลในห้องคลอด โรงพยาบาลปทุมธานี ในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม 2558 ถึง สิงหาคม 2559 จำนวน 359 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอด มีค่าความเชื่อมั่น .86 แบบประเมินการรับรู้ประสบการณ์การคลอด มีค่าความเชื่อมั่น .81 และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติทีแบบอิสระต่อกัน (Independent t-test) และสถิติแมนวิทนีย์ยู (Mann-Whitney U-test)          ผลการวิจัย พบว่าผู้คลอดปกติมีค่าเฉลี่ยการรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอด (ค่าเฉลี่ย = 57.75, SD = 15.09) การรับรู้ประสบการณ์การคลอดทางบวก (ค่าเฉลี่ย = 76.96, SD = 9.90) และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการบริการอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 6.90, SD = 2.11) โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าผู้ที่ผ่าตัดคลอดทั้ง 3 ด้าน (ค่าเฉลี่ย = 54.87, SD = 15.70; ค่าเฉลี่ย = 72.91, SD = 10.73; ค่าเฉลี่ย= 6.81, SD = 2.09 ตามลำดับ) การรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอดและความพึงพอใจต่อการบริการระหว่างผู้คลอดปกติและผ่าตัดคลอด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 1.783, p > .05 และ Z = -.449, p > .05) ตามลำดับ ส่วนการรับรู้ประสบการณ์การคลอดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.679, p < .001) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลควรส่งเสริมการรับรู้ประสบการณ์การคลอดที่ดีแก่ผู้ที่ผ่าตัดคลอด ให้มารดาได้โอบกอดสัมผัสทารกแรกเกิดและให้ทารกได้ดูดนมโดยเร็ว            The purpose of this comparative descriptive research was to compare the women’s perceptions of Intrapartum care process, childbirth experience and satisfaction with nursing care between normal vaginal birth and cesarean section. The samples were 359 postpartum women who were taken care in the labor room of Phathumthani Hospital during December 2015 to August 2016. The sample were specifically selected. Instruments used to collect data included demographic record form, intrapartum care process evaluation form with reliability .86, questionnaires on perceptions of labor experience with reliability .81 and satisfaction with nursing care evaluation form. The data were analyzed by descriptive statistics, Independent t-test, and Mann-Whitney U-test.          The result shows that women with vaginal birth have moderate level for mean scores of perceptions of intrapartum care process (average = 57.75, SD = 15.09), perceptions of positive childbirth experience (average = 76.96, SD = 9.90), and satisfaction with nursing care (average = 6.90, SD = 2.11). The mean scores of these perceptions were higher than those women with cesarean section (average = 54.87, SD = 15.70; average = 72.91, SD = 10.73; average = 6.81, SD = 2.09, respectively). The perceptions of intrapartum care process and satisfaction with nursing care were not statistically significant difference between vaginal birth and cesarean section (t = 1.783, p > .05; Z = -.449, p > .05, respectively). The perceptions of childbirth experiences were statistically significant difference of (t = 3.679, p < .001). The findings suggested that nurses should promote the perceptions of positive childbirth experience to women with cesarean section and stimulate cuddling newborn and early breast feeding.

Downloads