การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการจัดการความปวดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดข้อสะโพกเทียม

Authors

  • เรณูภูจอมจิตต มิ่งพันธ์
  • ตะวัน เขตปัญญา
  • เยาวเรศ ก้านมะลิ
  • วารุณี เข็มลา

Keywords:

การจัดการความปวด, ผู้สูงอายุ การผ่าตัดข้อสะโพกเทียม, การพยาบาล, แนวปฏิบัติ

Abstract

          การผ่าตัดข้อสะโพกเทียมมีอัตราเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากกระดูกสะโพกหักเป็นปัญหาที่พบบ่อยและเพิ่มตามอายุของในผู้สูงวัย การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการจัดการความปวดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดข้อสะโพกเทียม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือนเมษายน ถึง มิถุนายน 2562 จำนวน 30 คน และพยาบาลที่ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยกระดูก จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แนวปฏิบัติการพยาบาล แบบสอบถามผลลัพธ์การจัดการความปวด แบบประเมินประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติการพยาบาล และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา          ผลการศึกษา พบว่า การจัดการความปวดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมมี 4 ระยะคือ การพยาบาลระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด หลังผ่าตัด และระยะต่อเนื่องเพื่อป้องกันความปวดเรื้อรัง ผู้สูงอายุร้อยละ 90 มีระดับความปวดลดลงที่หลังผ่าตัด 72 ชั่วโมงอยู่ในระดับปานกลาง ผู้สูงอายุพึงพอใจต่อการจัดการความปวดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 27.21, SD = 1.07) พยาบาลทุกคนใช้วิธีการจัดการความปวดโดยใช้ยา ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนพบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 80 มีภาวะพึ่งพาอยู่ในระดับปานกลาง แนวปฏิบัตินี้มีประสิทธิภาพด้านการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 5.95, SD = 0.22) ผลการวิจัยนี้เสนอว่าควรมีการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลการจัดการความปวดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัดจนถึงหลังผ่าตัดทั้งในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทการดูแลผู้ป่วย และควรศึกษาประสิทธิภาพด้านค่าใช้จ่ายและวันนอนโรงพยาบาล           Hip arthroplasty rates are increasing since hip fractures are common in the growing elderly population. The purpose of this research was to develop and study the effects of clinical nursing practice guidelines for pain management in the elderly with hip arthroplasty. The sample consisted of 30 elderly who had hip arthroplasty in Kalasin hospital in April-June 2019 and 15 nurses in the Orthopedic Department. Data collection instruments were the clinical nursing practice guidelines for pain management, pain management scale, and satisfaction with pain management. Data were analyzed using descriptive statistics.          The results revealed that clinical nursing practice guidelines for pain management in the elderly were implemented in four phases: pre-surgery, during surgery, post-operative, and pain management aftercare. The majority of elderly (90%) had pain level reduced to a moderate level within 72 hours after surgery. There was a high level of patient satisfaction with pain management (average = 27.21, SD = 1.07). All nurses used pharmacological management for pain. Long-term health problems among community-dwelling elderly (80%) had moderate dependency. The efficiency on benefit of clinical nursing practice guidelines was highest level (average = 5.95, SD = 0.22). The results suggest that these clinical nursing practice guidelines should be used from preoperative to postoperative and aftercare phases in general and community hospitals with similar patients. Further research should study cost effectiveness and days of hospitalization.

Downloads

Published

2022-12-15