ปัจจัยทำนายภาระของผู้ดูแลเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า

Authors

  • พิมพ์ชนก จันทราทิพย์
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
  • นุจรี ไชยมงคล

Keywords:

ผู้ดูแลเด็ก, การพัฒนาล่าช้า, การดูแลตนเอง, การสนับสนุนทางสังคม

Abstract

          เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าจะช่วยเหลือตนเองได้น้อย จึงส่งผลให้เกิดภาระของผู้ดูแลเด็ก การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายภาระของผู้ดูแลเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าที่นำเด็กมารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก คลินิกพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กสถาบันราชานุกูลจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 76 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 - มิถุนายน พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเองของเด็ก แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามภาระการดูแลของผู้ดูแลเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งแบบสอบถามทุกชุดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว และหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ .85, .92 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหูคูณ          ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการดูแลตนเองของเด็ก และการสนับสนุนทางสังคมสามารถทำนายภาระของผู้ดูแลเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้ร้อยละ 39.2 (Adjusted R2 = .375, p < .001) ซึ่งปัจจัยที่สามารถทำนายได้ดีที่สุดคือ ความสามารถในการดูแลตนเองของเด็ก สามารถทำนายภาระของผู้ดูแลเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้ ร้อยละ 23.7 (β = -.441, p < .001) และปัจจัยตัวที่สอง คือ การสนับสนุนทางสังคม ร้อยละ 15.5 (β = -.396, p < .001)          ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลควรพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า โดยเน้นความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กและการสนับสนุนทางสังคมแก่ผู้ดูแลเด็ก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าให้มากขึ้น           Children with delayed development have less ability to look after themselves. Self-help thus increases the burden for their caregivers. This predictive correlational research aimed to examine factors predicting the burden of caregivers for children with delayed development. Convenience sampling was used to recruit 76 caregivers of children with delayed development who brought their children to receive service at the outpatient department of the Child Development and Behavior Clinic of Rajanukul Institute, Bangkok. Data collection was carried out from May to June 2019. Research instruments were a demographic questionnaire, the child self-care ability scale, the social support questionnaire, and the burden of caregivers of children with delayed development questionnaire. Cronbach’s alpha coefficients were.85, .92 and .93, respectively. Data were analyzed with descriptive statistics and multiple linear regression.          Results revealed that child self-care and social support accounted for 39.2% of variance (adjusted R2 = .375, p < .001) in predicting the burden of caregivers of children with delayed development. Self-care ability of children accounted for 23.7% (β = -.441, p < .001) of the variance in caregiver burden, while social support accounted for 15.5% (β = -.396, p < .001).          To enhance the effectiveness of caring for children with delayed development, the findings suggest that nurses’ development of interventions to care for children with delayed development should focus on the child’s self-care ability and social support for caregivers.

Downloads

Published

2022-12-15