ผลของการนวดสัมผัสทารกต่อพฤติกรรมตอบสนองความปวดอัตราการเต้นของหัวใจและค่าความอิ่มตัว ของออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่ได้รับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลาย

Authors

  • สุรีทร ส่งกลิ่น
  • นฤมล ธีระรังสิกุล

Keywords:

พฤติกรรม, ทารกแรกเกิด, นวดสัมผัสทารก, หลอดเลือดดำส่วนปลาย, การเต้นของหัวใจ

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการนวดสัมผัสทารกต่อพฤติกรรมตอบสนองความปวด อัตราการเต้นของหัวใจ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่ได้รับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลาย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยทารกแรกเกิดที่คลอดเมื่ออายุครรภ์ 37-42 สัปดาห์ และเข้ารับการดูแลในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดโรงพยาบาลสระบุรี สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการห่อตัวตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับการนวดสัมผัส ก่อนการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลาย 2 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการนวดสัมผัสทารกซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ แบบบันทึกค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน และแบบประเมินพฤติกรรมการตอบสนองความปวดของทารกแรกเกิด มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค = .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติ t-test          ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการเจาะเลือดทันทีและนาทีที่ 1 ทารกกลุ่มที่ได้รับการนวดสัมผัสมีพฤติกรรมตอบสนองต่อความปวดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการห่อตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -13.201, p < .05 และ t = -3.154, p < .05) ทารกกลุ่มที่ได้รับการนวดสัมผัสและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติมีอัตราการเต้นของหัวใจ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การนวดสัมผัสทารกช่วยลดพฤติกรรมตอบสนองต่อความปวดได้ ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพควรนำการนวดสัมผัสไปใช้เพื่อลดความปวดของทารกที่ได้รับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลาย           This quasi-experimental research aimed to study the effects of infant massage on behavioral pain responses, heart rate and oxygen saturation in newborns undergoing venipuncture. The sample included 30 newborns with a gestational age of 37-42 weeks admitted to the neonatal ward of Saraburi Hospital. Simple random sampling was used to select 30 newborns, divided equally into experimental and control groups. The control group received routine care and swaddling, while the experimental group received infant massage for two minutes before venipuncture. Data collection instruments were the infant massage program, demographic characteristics, heart rate and oxygen saturation record form, and the Neonatal Infant Pain Scale, which had a Cronbach’s alpha of .90. Data were analyzed using descriptive statistics and Independent t-tests.          The results revealed that the mean scores of behavioral pain response in the experimental group immediately after undergoing infant massage and one minute later were significantly lower than those of the control group (t = -13.201, p < .05 and t = -3.154, p < .05) respectively. Heart rate and oxygen saturation were not significantly different between groups. These findings suggest that infant massage could be a practical nursing intervention to relieve pain among newborns undergoing venipuncture or other invasive hospital procedures.

Downloads

Published

2022-12-15