ปัจจัยทำนายความพร้อมในการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวชของญาติผู้ดูแล จังหวัดชลบุรี

Authors

  • อโนชา ทัศนาธนชัย
  • พิชามญชุ์ ปุณโณทก
  • วรรณรัตน์ ลาวัง
  • สุรภา สุขสวัสดิ์
  • รัชนี สรรเสริญ

Keywords:

ทัศนคติ, การดูแล, ความพร้อมในการดูแล, ผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวช, ญาติผู้ดูแล, จังหวัดชลบุรี

Abstract

            ญาติผู้ดูแลเป็นทรัพยากรสำคัญในระบบการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวชในระยะยาว การวิจัยเชิงพรรณนาแบบความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความพร้อมในการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวชของญาติผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลของผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวชที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี จำนวน 310 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่มหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน การรับรู้ความรุนแรงของโรค พลังสุขภาพจิต ทัศนคติต่อการดูแล การรับรู้ภาระการดูแล มุมมองเชิงบวกจากการดูแล และความพร้อมในการดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมในการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวชภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยตัวแปรทัศนคติต่อการดูแล ปัญหาสุขภาพ อายุของญาติผู้ดูแล มุมมองเชิงบวกจากการดูแล และการได้รับการอบรมสามารถร่วมกันอธิบายความพร้อมในการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวชได้ร้อยละ 40.2 (R2 = .402, F = 40.861, p < .001) ดังนั้น พยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมของญาติผู้ดูแลในการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวชโดยการเพิ่มทัศนคติที่ดีต่อการดูแล ส่งเสริมมุมมองเชิงบวก และอบรมก่อนการดูแล โดยเฉพาะในญาติผู้ดูแลที่มีอายุมากและมีปัญหาสุขภาพ เพื่อเพิ่มคุณภาพการดูแลและผลลัพธ์ที่ดีของผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตเวชและญาติผู้ดูแล             Family caregivers are essential resources in the long-term care system for persons with psychiatric illness. This predictive correlational research aimed to describe care readiness and to determine factors influencing the care readiness among family caregivers for persons with psychiatric illness. Multi-stage cluster random sampling was used to recruit 310 family caregivers of persons with psychiatric illness in Chonburi province. Research instruments were interviews measuring basic information, perceived severity of illness, caregiver’s resilience quotient, attitude toward care, perception of care burden, positive caregiving aspects, and care readiness. Descriptive statistics and stepwise multiple regression were used to analyze the data.           The results revealed that the care readiness of family caregivers for persons with psychiatric illness, overall and in each dimension, were rated at a moderate level. The care attitude, health problems, caregiver’s age, positive caregiving aspects, and receiving training together explained 40.2% of the variance in readiness to care for persons with psychiatric illness (R2 =. 40.2, F = 40.861, p <.001).           These findings suggest that nurses and other health personnel should develop programs to promote family caregivers’ readiness to care for persons with psychiatric illness through increasing positive attitudes toward care, improving positive caregiving aspects, and providing training, especially for elderly caregivers and those with health problems. Consequently, quality of care would be improved and positive outcomes would be enhanced for persons with psychiatric illness and their caregivers.

Downloads

Published

2022-12-15