ประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้หญิงวัยกลางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Authors

  • ณัฐธยาน์ วิสารพันธ์
  • วราทิพย์ แก่นการ
  • ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย

Keywords:

ผู้หญิง, วัยกลางคน, ภาวะน้ำหนักเกิน, พฤติกรรม, สุขภาพ, โรคไตเรื้อรัง

Abstract

          ภาวะน้ำหนักเกินในผู้หญิงวัยกลางคนเกิดขึ้นได้ง่ายและเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังในอนาคต การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้หญิงวัยกลางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรัง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง คัดเลือกด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้หญิงวัยกลางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินจำนวน 108 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 54 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การให้ความรู้เพื่อป้องกันโรคไต การปรับพฤติกรรมด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการจัดการกับอารมณ์ ร่วมกับการติดตามเยี่ยมบ้าน ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง แบบวัดคุณภาพชีวิต มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .90 และ .92 ตามลำดับ และแบบบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ไคสแคว์ และทดสอบค่าทีที่เป็นอิสระต่อกัน           ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง อัตราการกรองของไต และคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาแสดงว่ารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้หญิงวัยกลางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินมีประสิทธิผลในการป้องกันโรคไตเรื้อรัง บุคลากรทีมสุขภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรังได้            Being overweight is common in middle-aged women and can lead to future chronic kidney disease. The purpose of this research was to study the effectiveness of a health promotion behavior model to prevent chronic kidney disease among overweight middle-age women in the lower Northeastern region. The participants were 108 overweight middle-age women, selected by multi-stage random sampling and equally divided into experimental and control groups. The health promotion behavior model consisted of health education to prevent chronic kidney disease, behavior adjustment, nutrition, exercise, and emotion management, and follow-up home visits. Data were collected by the chronic kidney disease prevention behavior questionnaire, the quality of life test (reliability coefficients were .90 and .92 respectively), and clinical outcome record forms. Data were analyzed by using descriptive statistics, chi-square, and independent t-test.          The results showed that, compared to the control group, the experimental group had significantly higher (p < .05) mean scores on chronic kidney disease preventive behavior, glomerular filtration rate, and quality of life. In addition, compared to the control group, the experimental group had significantly lower (p < .05) mean scores for blood pressure, blood sugar, body mass index and waist circumference. These findings indicate that the behavioral health promotion model for overweight middle-aged women is effective in the prevention of chronic kidney disease. Health team personnel can apply this model to women with high risk of the chronic kidney disease.

Downloads