ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานในโรงพยาบาลรัฐบาล เขตภาคเหนือตอนบน

Authors

  • กนกอร ปัญญาโส
  • ศิริวรรณ แสงอินทร์
  • อุษา เชื้อหอม

Keywords:

คุณภาพชีวิต, มิติสุขภาพ, การจัดการตนเอง, ด้านสุขภาพ, การสนับสนุนทางสังคม, หญิงตั้งครรภ์, ภาวะเบาหวาน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวาน ที่มารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลรัฐบาล 3 แห่ง เขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 150 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางสูติศาสตร์ แบบวัดคุณภาพชีวิต SF-12 เวอร์ชั่น 2 แบบสอบถามการจัดการตนเอง และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สเปียร์แมน และพอยท์ไบซีเรียล          ผลวิจัยพบว่าคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพมีค่าเฉลี่ย 66.86 (SD = 13.93) ซึ่งอยู่ในระดับดี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (r = .172, p < .05) ระดับน้ำตาลในเลือด (r = -.209, p < .05) การจัดการตนเองด้านสุขภาพ (r = .438, p < .01) และการสนับสนุนทางสังคม (r = .414, p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่าพยาบาลควรประเมินการจัดการตนเองและการสนับสนุนทางสังคมระหว่างที่มาฝากครรภ์และควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการจัดการตนเองและเปิดโอกาสให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสนับสนุน เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น           This correlational research study aimed to examine factors associated with health-related quality of life in pregnant women with diabetes mellitus. The sample was 150 pregnant women with diabetes mellitus who attended antenatal services in three public hospitals in the upper northern region of Thailand. Research instruments consisted of personal and obstetrics record forms, the 12-item Short-Form Health Survey–Version 2, and self-management and social support questionnaires. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s product moment, Spearman’s rank, and Point biserial correlations.          The results found a mean health-related quality of life score of 66.86 (SD = 13.93), considered a good level. Statistically significant factors associated with health-related quality of life were age (r = .172, p < .05), blood sugar levels (r = -.209, p < .05), self-management (r = .438, p < .01) and social support (r = .414, p < .01). The findings suggest that nurses should assess self-management and social support during antenatal visits. Nurses should also have activities to promote self-management and provide opportunities for families to learn to support and promote good health-related quality of life among pregnant women with diabetes mellitus.

Downloads