ผลของโปรแกรมการพัฒนาความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ปกครองต่อการรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรค มือ เท้า ปากในเด็กวัยก่อนเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Authors

  • นาฎอนงค์ แฝงพงษ์
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล

Keywords:

ความเชื่อ, ด้านสุขภาพ, การรับรู้, พฤติกรรม, การป้องกัน, โรคมือเท้าปาก, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ปกครองต่อการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปากในเด็กวัยก่อนเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่มีอายุ 21-59 ปี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพ วีดิทัศน์ คู่มือปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรค และเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-Square, Fisher’s exact test และ Independent t-test          ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยง และการรับรู้ความรุนแรงของโรคระดับมาก (M = 4.36, SD = 0.46; M = 4.50, SD = 0.38 ตามลำดับ) การรับรู้ประโยชน์ ระดับมากที่สุด (M = 4.63, SD = 0.31) การรับรู้อุปสรรคอยู่ในระดับน้อยที่สุด (M = 1.42, SD = 1.34) และมีการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคเป็นประจำ (M = 2.66, SD = 0.21) กลุ่มทดลอง มีการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรค และพฤติกรรมการป้องกันโรค เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.370, p < .01, t = 2.158, p < .05, t = 1.935, p < .05 และ t = 2.160, p < .05 ตามลำดับ) และมีการเปลี่ยนแปลงการรับรู้อุปสรรค ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -3.083, p < .02)         ผลการศึกษานี้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บุคลากรสุขภาพ และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือครูผู้ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นำไปใช้เป็นแนวทางในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กวัยก่อนเรียนผ่านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง           This quasi-experimental research studied the effects of a health belief development program on the perception of and preventive behaviors regarding hand-foot-mouth disease (HFMD) among parents of preschool-aged children in a child development center. The sample was 60 parents aged 21-59 recruited by multi-stage sampling and divided into experimental (n = 30) and control groups (n = 30). The experimental instrument was the health belief model program: a video and a handbook for disease preventive behaviors. Data collection tools were questionnaires. Data were analyzed by descriptive statistics, Chi-Square, Fisher’s exact test and independent t-test.           The results revealed that, after the intervention, the experimental group had high level mean scores for perceived susceptibility and perceived severity (M = 4.36, SD = 0.46; M = 4.50, SD = 0.38 respectively). The highest mean score was for perceived benefits (M = 4.63, SD = 0.31). A lower mean score was found for perceived barriers (M = 1.42, SD = 0.34), and a moderate mean score for HFMD preventive behaviors (M = 2.66, SD = 0.21). There were several changes in health beliefs: in the experimental group, post-intervention scores for perceived susceptibility, perceived severity, and perceived benefits of HFMD preventive behaviors were significantly higher than in the control group (t = 2.370, p = .010; t = 2.158, p = .018; t = 1.935, p = .029, and t = 2.160, p = .017 respectively). Similarly, the experimental group’s post-intervention perceived barriers score was significantly lower than the control group’s score (t = -3.083, p = .002).           The results suggest that community nurse practitioners, health workers and related parties could use this program as a guideline for prevention of hand-foot-mouth disease for preschool-aged children in child development center through the participation of parents.

Downloads