ความชุกและรูปแบบของการเกิดภาวะอารมณ์เศร้าในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง

Authors

  • อนุชิดา อายุยืน
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี

Keywords:

อารมณ์, หลังคลอด, อารมณ์หลังคลอด, มารดาวัยรุ่น, ความชุก, ภาวะอารมณ์เศร้า

Abstract

        การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและรูปแบบของภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ในช่วง 7 วันหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่มีอายุตั้งแต่ 10-19 ปี พักฟื้นที่แผนกหลังคลอด โรงพยาบาลสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 115 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้มารดาตอบแบบสอบถามภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ         ผลการศึกษาพบว่า ในช่วง 7 วันหลังคลอด มารดามีภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด คิดเป็นอัตราความชุกเท่ากับร้อยละ 49.60 ช่วงเวลาที่พบอารมณ์เศร้ามากที่สุดคือในวันที่ 3, 4 และ 5 และจะค่อย ๆ ลดลงในวันที่ 6 และ 7 ตามลำดับ กลุ่มอาการแสดงที่พบมากที่สุด คือ กลุ่มอาการอารมณ์เศร้า พบร้อยละ 21.40 มารดาที่มีภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดในระดับรุนแรง พบเพียงร้อยละ 3.48 และผลการวิเคราะห์คะแนนความรุนแรงของภาวะอารมณ์เศร้า ในช่วง 7 วันพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการดูแลมารดา หลังคลอดวัยรุ่นโดยติดตามคัดกรองภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดของมารดาวัยรุ่นเพื่อป้องกันความรุนแรงที่อาจพัฒนาต่อไปเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด          The purpose of this survey research was to study the prevalence and patterns of maternity blues in adolescent mothers during the first 7 days after delivery. Research participants were 115 adolescent mothers in the postpartum ward of Satuek Hospital, Buriram province. Adolescent mothers were asked to complete the Thai version of the Kennerley and Gaths Maternity Blues Questionnaire daily during the first 7 days postpartum. Data were analyzed using descriptive statistics and one-way repeated measures ANOVA.           The results showed that 49.60% of adolescent mothers (57 of 115) experienced maternity blues during the first 7 days after delivery. The typical maternity blues time pattern showed peaked on postpartum days 3, 4 and 5, and gradually decreased on days 6 and 7. The most common cluster of symptoms experienced by adolescent mothers was primary blues (21.40%). Only 3.48% of mothers experienced severe blues. The scores for each of the 7 days were significantly different (F = 48.551, p < .05). The results of this study can be used to improve care for postpartum adolescent mothers by screening and monitoring maternity blues of adolescent mothers and providing education to help prevent postpartum depression among these mothers.

Downloads