ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อการรับรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และแรงสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากญาติตามการรับรู้ของมารดาหลังคลอด

Authors

  • รักศิริ อาวัชนาวงศ์
  • ทิพย์วรรณ บุณยาภรณ์

Keywords:

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, ครอบครัวมีส่วนร่วม, การรับรู้, แรงสนับสนุนจากครอบครัว

Abstract

        การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยครอบครัวมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากญาติตามการรับรู้ของมารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาหลังคลอดและญาติที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลตรัง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยครอบครัวมีส่วนร่วม กลุ่มละ 25 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม - ตุลาคม 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยครอบครัวมีส่วนร่วม แบบสอบถามแรงสนับสนุนการเลี้ยงลูกจากครอบครัวและแบบสอบถามการรับรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติ t-test        ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของญาติกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยครอบครัวมีส่วนร่วมสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนแรงสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากญาติตามการรับรู้ของมารดาหลังคลอดในกลุ่มและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่าง ดังนั้นเพื่อให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง จึงควรสนับสนุนการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทุกระยะของการตั้งครรภ์         This quasi-experimental study aimed to test the effects of family involvement in a breastfeeding promotion program on family’s breastfeeding perceptions and postpartum mothers’ perceptions of family support for breastfeeding. Participants were postpartum mothers and who had been admitted at Trang hospital and their families. The twenty-five participants were randomly divided into control and experimental groups. The experimental group received the family breastfeeding promotion program from July through October 2019. The control group received regular care. At the end of the program, both groups were assessed using the perceptions of breastfeeding questionnaire and the family support for breastfeeding questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and t-tests.        Findings showed that, after the program, the mean scores of family’s breastfeeding perceptions were significantly higher in the experimental group than in the control group (p < .05). However, there was no significant difference between the groups in terms of the mean scores of family support for breastfeeding. Therefore, in order to encourage breastfeeding by postpartum mothers, families should be involved in promoting breastfeeding at all stages of pregnancy.

Downloads