Psychological Stress among Patients with Hypertension in Bhutan

Authors

  • Dawa Gyeltshen
  • Aporn Deenan
  • Chintana Wacharasin

Keywords:

Stress, hypertension, Bhutan, ความเครียด, ความดันโลหิตสูง, ประเทศภูฏาน

Abstract

         Understanding the relationship between psychological stress and blood pressure is a key in helping patients with hypertension control their blood pressure. The objective of this study was to examine the level of psychological stress among patients with hypertension and the differences in psychological stress level by gender, family history of hypertension, blood pressure control, and duration of hypertension. The descriptive design used simple random sampling to recruit 120 patients with hypertension at Jigme Dorji Wangchuk National Referral Hospital in Bhutan. Data were collected using a demographic data questionnaire and a perceived stress scale. Descriptive statistics and t-tests were used to analyze the data.          The results found that the majority (75.83%) of the sample reported moderate levels of psychological stress (average = 20.23, SD = 5.58). Only 12.50% of participants reported high psychological stress, and 11.67% reported low stress levels. The mean score of psychological stress was significantly different by duration of hypertension (more vs. less than 60 months [t118 = -4.21, p < .001]), controlled vs. uncontrolled blood pressure (t118 = -2.42, p < .05), and family history vs. no family history of hypertension (t118 = 2.18, p <.05). However, mean stress scores were not significantly different between the males and females (t118 = 1.85, p > .05). In conclusion, interventions for Bhutanese people with hypertension to manage psychological stress should be developed with a sensitivity to duration of diagnosis, family history, and ability to control blood pressure.           ความเข้าใจเกี่ยวกับความเครียดที่มีผลต่อการควบคุมความดันโลหิตสูงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและศึกษาความแตกต่างของระดับความเครียดตามปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ เพศ ประวัติโรคความดันโลหิตสูงในครอบครัว การควบคุมความดันโลหิต ระยะเวลาที่เป็นโรคความดันโลหิต กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงพรรณาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 120 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จากผู้ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลแห่งชาติจิกมี ดอจิ วังชุก ประเทศภูฏาน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณาและการทดสอบค่าที (t-test)          ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.8 มีความเครียดระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย =20.2, SD = 5.6) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 12.5 มีความเครียดอยู่ในระดับสูง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 11.7 มีความเครียดระดับต่ำผลการทดสอบความแตกต่างของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดแตกต่างกันในคนที่มีและไม่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง (t118 = 2.18, p < .05) ผู้ที่ควบคุมความดันโลหิตได้และไม่ได้ (t118 = -2.42, p < .05) ระยะเวลาที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมากและน้อยกว่า 60 เดือน (t118 = -4.21, p < .001) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย (t118 = 1.85, p > .05) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ การพัฒนา วิธีการจัดการความเครียดสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในภูฏานโดยคำนึงถึงระยะเวลาที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ประวัติโรคความดันโลหิตสูงในครอบครัวและ ความสามารถในการควบคุมความดันโลหิต

Downloads