บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่ได้รับการเจาะคอและใส่ท่อหลอดลมคอในหอผู้ป่วยไอซียู

Authors

  • สุภาณี แก้วธำรงค์
  • นุจรี ฮะค่อม

Keywords:

บทบาทพยาบาล, การดูแล, ผู้ป่วยภาวะวิกฤต, การเจาะคอ, ท่อหลอดลมคอ

Abstract

         การผ่าตัดเจาะคอและใส่ท่อหลอดลมคอสำหรับผู้ป่วยภาวะวิกฤต เป็นการรักษาที่พบบ่อยและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย พยาบาลในหอผู้ป่วยไอซียูมีบทบาทสำคัญในการดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะคอและใส่ท่อหลอดลมคอ วัตถุประสงค์ของบทความนี้ เพื่อนำเสนอประเด็นสำคัญเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนหลังการเจาะคอและใส่ท่อหลอดลมคอ ได้แก่ การมีเลือดออกรอบ ๆ ตำแหน่งที่เจาะคอ การมีลมอยู่ในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังที่เกิดจากการผ่าตัดเจาะคอ การอุดตันของท่อหลอดลมคอ และท่อหลอดลมคอผิดตำแหน่ง บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤตหลังผ่าตัดเจาะคอและใส่ท่อหลอดลมคอ ได้แก่ การประเมินภาวะเลือดออก การดูแลแผลเจาะคอ การดูดเสมหะทางท่อหลอดลมคอ และการดูแลถุงลมของท่อหลอดลมคอ ถ้าพยาบาลสามารถประเมินปัญหาดังกล่าวได้ตั้งแต่แรก จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะคอ          Tracheostomy care is a common and important concern in an intensive care unit. Nurses are the health care professionals who must provide proper care to prevent complications among patients with tracheostomy. This article aimed to guide the indications, complications, and nursing care for critical-care patients with tracheostomy. Significant post-tracheostomy complications include bleeding and tracheostomy tube obstruction. The nursing role regarding intensive care patients with tracheostomy includes bleeding assessment, stoma care, suction and cuff care. Therefore, nurses who practice early detection of these problems can prevent tracheostomy complications.

Downloads