Hearing loss in a textile factory.

การสูญเสียการได้ยินในโรงงานทอผ้า

Authors

  • อนามัย ธีรวิโรจน์ เทศกะทึก

Keywords:

การได้ยิน, การสูญเสียการได้ยิน, Hearing loss, textile factory, โรงงานทอผ้า

Abstract

Abstract : To compare the prevalence rate of hearing loss at different levels of noise in a textile factory and to find out the levels of hearing loss according to duration (years) of employment in the factory.  Methods : Seventy workers exposed to different levels of noise were matched with 70 persons in the community who were not exposed to occupational noise. Noise levels dB (A) were measured at different locations in the factory. Hearing was assessed in all participants. Few cases were excluded from the study because hearing loss was due to factors other than exposure to noise.  Results : The prevalence rate of hearing loss was higher among the exposed group ie. 30% in the exposed group and 8% in the non-exposed group. Hearing loss increased with increasing level of noise reaching 73% in the 95dB (A) area. Average hearing loss was highest amongst those who were employed for 25 years or more, reaching 39% dB (HL).  Conclusion : The findings of this study highlighted the magnitude of the problem, the necessity of the application of preventive measures and the need for more studies in this field.  วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบอัตราความชุก ของการสูญเสียการได้ยินที่ระดับเสียงดังแตกต่างกัน ในโรงงานทอผ้า และค้นหาระดับการสูญเสียการได้ยินตามระยะ เวลาการทำงาน (ปี) ในโรงงาน  วิธีการดำเนินการ กลุ่มตัวอย่างเป็นคนที่ทำงานที่สัมผัสกับระดับเสียงดังที่แตกต่างกัน จำนวน 70 คน และกลุ่มควบคุมเป็นประชาชนที่อาศัยในชุมชน ซึ่งไม่ได้สัมผัสกับเสียงดัง การวัดระดับเสียงดัง dB (A) ที่ตำแหน่งต่างๆ ในโรงงานทอผ้า ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน กับคนงานทุกคนในโรงงาน ตัวอย่างจำนวนน้อยที่ถูกคัดออกจากการศึกษา เนื่องจากสูญเสียการได้ยินที่ไม่ใช่สาเหตุจากการสัมผัสเสียงดัง  ผลการศึกษา พบว่ามีอัตราความชุกของการสูญเสียการได้ยินสูง ในกลุ่มที่สัมผัสกับเสียงดัง ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ และประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์พบในกลุ่มที่ไม่สัมผัสกับเสียง การสูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้นตามระดับความดังของเสียงที่เพิ่มขึ้นและเพิ่มถึง 73 เปอร์เซนต์ ในบริเวณที่มีความดัง 95 dB (A) การสูญเสียการได้ยิน เฉลี่ยสูงที่สุดในกลุ่มที่ทำงานมา 25 ปี หรือมากกกว่า  สรุป การศึกษานี้ค้นพบขนาดของปัญหาการสูญเสียการได้ยินที่ค่อนข้างสูง มีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการป้องกันที่เหมาะสมเพื่อลดอัตราการสูญเสีย การได้ยินไว้แต่เนิ่นๆ พยาบาลอาชีวอนามัยที่ทำงานโรงงานจะต้องตระหนักในเรื่องนี้ สามารถประเมินปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการสูญเสียการได้ยิน ในคนงานและเสนอความร่วมมือกับกรรมการ หรือเจ้าของกิจการกำหนดมาตรการ การทำงานที่ป้องกันปัญหานี้

Downloads

Published

2022-06-09