Nutritional knowledge, beliefs and behaviours in Teenage school students

ความรู้ ความเชื่อ และพฤติกรรมด้านโภชนาการ ของนักเรียนวัยรุ่น

Authors

  • ยุวดี ลีลัคนาวีระ

Keywords:

นักเรียนวัยรุ่น, พฤติกรรม, โภชนาการ, behaviours, Teenage school students

Abstract

          Three hundred and ninety-one adolescent Western Australians mean age 15.8 years, completed questionnaires to determine nutritional knowledge and behaviours including stage of change ; health beliefs and values ; barriers to change ; self-efficacy ; locus of control ; dietary ; alcohol and smoking habits ; television-watching; weight and body image. Highest ranking beliefs and values regarding healthy diets were improving health, feeling energetic, feeling good about oneself, controlling weight, lowering cholesterol, testing willpower and improving appearance. Important barriers to healthy eating were lack of suitable foods at home and school, inability to influence food choices at home, and ignorance about nutrients. Nutritional knowledge, particularly concerning fat, was deficient. Healthy eating related negatively to television watching and alcohol, and positively to self-efficacy, nutrition knowledge, considering weight control and well-being as important, and having influence over foods at home. Of the 28% of boys and girls who drank alcohol, 20% reported intake above "safe" limits. Twenty-four percent of boys and 22 % of girls smoked. Fifty-four percent of girls and 21 % of boys considered themselves overweight including 20% of the leanest girls and 8 % of the leanest boys. Nutrition education for adolescents should incorporate self-efficacy, relevant health values and barriers-to-change, education about nutrients, and improved access to healthy foods. Adolescent smoking and drinking should also be targeted.  Gracey และคณะ (1996) ศึกษาความรู้และพฤติกรรมด้านโภชนาการ ในนักเรียนวัยรุ่นชาว ออสเตรเลียตะวันตก (Western Australians) จํานวนนักเรียน 391 คน อายุเฉลี่ย 15.8 ปี เก็บข้อมูล โดยการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ และพฤติกรรมเรื่องโภชนาการรวมทั้งความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้คุณค่า อุปสรรคในการเปลี่ยนแปลง การรับรู้ความสามารถแห่งตน อํานาจการควบคุม (Locus of control) รูปแบบการรับประทาน การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การดูทีวี น้ำหนัก และภาพลักษณ์แห่งตน  กลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อว่าประโยชน์ ของการรับประทานอาหารที่ถูกหลักมีความสําคัญตามลําดับ  จากมากไปหาน้อยคือ ช่วยทําให้มีสุขภาพดีขึ้น รู้สึกมีกําลังวังชา มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ควบคุมน้ำหนัก ลดระดับโคเลสเตอรอล ทดสอบความตั้งใจจริงของ ตนเองในเรื่องของการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และช่วยให้รูปร่างดีขึ้น อุปสรรคสําคัญของการรับประทานเพื่อให้สุขภาพดี คือการขาดอาหารที่เหมาะสมที่บ้านและโรงเรียน เลือกอาหารไม่ได้ และไม่ใส่ใจเกี่ยวกับสารอาหารที่จะได้รับ ขาดความรู้ด้านโภชนาการ โดยเฉพาะการคํานึงถึงการ รับประทานอาหารประเภทไขมัน การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบกับการดูทีวี และการดื่มแอลกอฮอล์ และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสามารถแห่งตน ความรู้ด้านโภชนาการเพื่อ ควบคุมน้ำหนัก และการเห็นความสําคัญของความ เป็นอยู่ที่ดี และอิทธิพลของอาหารที่บ้าน จากร้อยละ 28 ของนักเรียนชายและหญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าร้อยละ 20 ดื่มเกินกว่าเกณฑ์ที่กําหนด ผู้ชายร้อยละ 24 และ ผู้หญิงร้อยละ 22 สูบบุหรี่ ผู้หญิงร้อยละ 54 และผู้ชาย ร้อยละ 21 คิดว่าตนเองมีน้ำหนักเกิน ในจํานวนนี้มี ผู้หญิงร้อยละ 20 และผู้ชายร้อยละ 8 ที่มีรูปร่างผอม แต่ยังคิดว่าตนเองมีน้ำหนักเกิน การให้การศึกษาเรื่องโภชนาการแก่วัยรุ่น ควรมีการผสมผสานระหว่างการรับรู้ความสามารถแห่งตน การให้คุณค่ากับสุขภาพ ปัญหาอุปสรรคในการที่จะเปลี่ยนแปลงนิสัยการบริโภค ควรให้ความรู้เกี่ยวกับสารอาหาร และการปรับปรุงวิธีการที่จะทําให้ได้รับอาหารเพื่อสุขภาพ กลุ่มวัยรุ่นที่เป็นเป้าหมาย คือกลุ่มที่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

Downloads

Published

2022-06-09