ระบบและกลไกเพื่อรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล

System and Mechanisms for an Aging Society at the Sub-district Level

Authors

  • นลินี เกิดประสงค์
  • จันทิมา นวะมะวัฒน์

Keywords:

สังคมสูงวัย , ระบบและกลไกรองรับสังคมสูงวัย, ชุมชน, Aging society, systems and mechanisms for an aging society, community

Abstract

การวิจัยแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของประชากรเกี่ยวกับระบบและกลไกรองรับสังคมสูงวัยในพื้นที่เป้าหมายเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายว่าด้วยระบบและกลไกรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล ใน 5 อำเภอ จังหวัดนครสวรรค์  มี 4 ขั้นตอน คือ 1) สร้างสัมพันธภาพ สำรวจชุมชน และคัดเลือกกลุ่มผู้นำพาการเปลี่ยนแปลง ระดับพื้นที่และระดับกลางเพื่อร่วมกันขับเคลื่อน 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นและความพึงพอใจที่คาดหวังของผู้สูงอายุและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับตำบล ขนาดกลุ่มตัวอย่างกระจายตามสัดส่วนแต่ละตำบล รวม 523 คน 3) พัฒนาร่างระบบและกลไกรองรับสังคมสูงวัยในระดับตำบล 4) ขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติด้วยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องโดยการคืนข้อมูลและร่วมกันดำเนินการประชุมวางแผนร่วมกันและติดตามประเมินผล ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการของประชาชนจำแนกเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มแกนนำชุมชนที่เกี่ยวข้องผู้สูงอายุใน 4 มิติ ได้แก่ 1) มิติด้านสุขภาพให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค สำรวจและดูแลผู้สูงอายุผู้ยากลำบาก ควรมีระบบเยี่ยมเยียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เสนอให้มีการจัดบริการเชิงรุก พัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยระยะยาวโดยเฉพาะการคมนาคมขนส่งเดินทางรับการรักษา 2) มิติเศรษฐกิจ จัดระบบการออมในชุมชน สวัสดิการชุมชนและฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ดียิ่งขึ้น สร้างอาชีพเสริมรายได้ผู้สูงอายุ ส่งเสริมภูมิปัญญา 3) มิติด้านสังคม สร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นภายในครอบครัว ค่านิยมช่วยเหลือเกื้อกูล เพื่อนช่วยเพื่อ สืบสานงานบุญสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันของภาครัฐท้องถิ่นและภาคประชาชน เคารพซึ่งกันและกันส่งเสริมและสืบสานภูมิปัญญา มาตรการรักษาความปลอดภัยในชุมชน และ 4) มิติด้านสภาพแวดล้อมเสนอให้มีการปรับปรุงบ้านให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ สถานที่สาธารณะให้เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ สร้างให้เป็นชุมชนสีเขียวและสะอาด ส่วนระบบและกลไกรองรับสังคมสูงวัย ประกอบด้วย  1) ขับเคลื่อนให้เกิดระบบและกลไกรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล ระดับจังหวัด เช่น คณะทำงานพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ ระดับตำบล ระดับจังหวัด หนุนเสริมการทำงานและจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ และ 2) ระบบงานที่เหมาะสมรองรับสังคมสูงวัยรวม ๒๓ ระบบและกระบวนการบริหารจัดการ 6 องค์ประกอบ คือ 1) การปรับโครงสร้างการบริหารจัดการของกลุ่ม 2) การวางระบบการทำงานที่สอดรับกับบริบทชุมชนสู่การปฏิบัติ 3) สร้างบรรยากาศการสื่อสารแบบเปิดเป็นประชาธิปไตย 4) พัฒนาความรู้และทักษะใหม่ๆ ให้กับกลุ่มผู้ขับเคลื่อน 5) สร้างทีมทำงานในระดับกลุ่มปฏิบัติ และ 6) สร้างแรงจูงใจในการทำงาน  This participatory research aimed to study population needs regarding systems and mechanisms to support an aging society and to formulate a policy proposal to support the aged society at the sub-district level in 5 districts of Nakhon Sawan province. The research process had four steps: 1) Build relationships, survey communities, and select change leaders at the areas’ local and intermediate levels; 2) Study the needs and satisfaction of the elderly and stakeholders at the sub-district level (which included 523 participants); 3) Develop a draft system and mechanism to support an aging society at the sub-district level through a learning exchange platform, and; 4) Drive policies into action with the participation of stakeholders and conduct a follow-up evaluation. The results showed that the needs of the elderly and the community leaders working with the elderly could be classified along four dimensions: 1) health dimension: health care knowledge and disease prevention, surveying and caring for the elderly in need, a peer-to-peer visitation system, proactive service arrangements, and a long-term care system for patients (especially transportation) to get treatment; 2) economic dimension: organizing a savings system, community welfare and funeral services, creating jobs to increase income and sustain the wisdom of the elderly; 3) social dimension: building strength and warmth within the family, promoting values regarding friendship and continued merit-making, creating a culture of collaboration between the local government and the people’s sector, respecting each other, promoting and inheriting wisdom and community security; 4) environmental dimension: home improvements suitable for the elderly, public areas for elderly, and building a green and clean community. Two systems and mechanisms emerged to support an aging society. The first was creating a system and mechanism to support an aging society at the sub-district level and at the provincial level, and to promote the exchange of knowledge between areas. The second was to promote an appropriate work system to support an aging society. This included 23 management systems and processes with six components: 1) restructuring group management; 2) aligning the work system with community context; 3) creating an atmosphere of freedom in communication; 4) developing new knowledge and skills for driving the group; 5) building teamwork at the group level, and; 6) providing incentives for work.

References

Nakhon Sawan Provincial Health Assembly Committee. (2015). Main document/ resolution of public policy development project for participatory health Nakhon Sawan province, Nakhon Sawan: Iprint Shop.

National Board of Elders Ministry of Social Development and Human Security. (2009). National plan for the elderly, vol. 2 (2002 - 2021), Revised edition, No. 1. Bangkok: The Agricultural Cooperative Association of Thailand Printing House. [In Thai]

National Reform Council. (2015). Reform agenda No. 30, system reform to support aging society, page 2. Bangkok: Secretariat of the House of Representatives. [In Thai].

Office of the National Health Commission. (2019). Annual report 2018. Nonthaburi: Office of the National Health Commission.

Puraya, A., Piyakong, D., Wongwiggan, S., & Boonpracom, R. (2021). Exploring the elderly care system: A view from community in Thailand. Jurnal Ners, 16(1), 1-7.

World Health Organization [WHO]. (2002). Active ageing: A policy framework. Geneva: WHO Press.

Downloads

Published

2022-12-09