วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/nursing en-US วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 0858-4338 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแล ผู้ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง ในจังหวัดชลบุรี https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/nursing/article/view/9603 <p>พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาวะที่ดีของญาติผู้ดูแล การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง ในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลจำนวน 123 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดและได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยใช้แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ความวิตกกังวลในการปฏิบัติบทบาทการดูแล การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้ความสามารถแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคม ที่ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .75, .91, .89, .89, .91 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติความสัมพันธ์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง (M<sub>adj</sub> =1.93, SD =0.36) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า พฤติกรรมที่อยู่ในระดับเหมาะสมมาก คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ซึ่งความเหมาะสมมากที่สุด (Madj =2.22, SD = 0.53) และด้านการตระหนักในคุณค่าแห่งตน (M<sub>adj</sub> =2.21, SD =0.48) ส่วนด้านอื่นอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง คือ ด้านการรับประทานอาหาร (M<sub>adj</sub> =1.92, SD =0.48) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (M<sub>adj</sub> = 1.75, SD =0.52) ด้านการจัดการกับความเครียด (M<sub>adj</sub> =1.71, SD =0.54) และด้านการออกกำลังกาย (M<sub>adj</sub> =1.48, SD =0.78) ตามลำดับ ทั้งนี้ปัจจัยการรับรู้ความสามารแห่งตน (r = .387, p &lt; .001) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม (r = .316, p &lt; .001) และการสนับสนุนทางสังคม (r = .230, p &lt; .05) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยมีข้อเสนอ แนะว่า พยาบาลวิชาชีพ หรือบุคลากรทางสุขภาพ สามารถนำผลวิจัยไปพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง โดยเน้นการเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้ถึงประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมร่วมกับส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมของญาติผู้ดูแลในชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้ญาติผู้ดูแลคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีได้ Health promoting behaviors play a crucial role in enhancing and sustaining the well-being of family caregivers. This descriptive correlational study aimed to identify factors associated with the health promoting behaviors of family caregivers of individuals undergoing peritoneal dialysis. The sample comprised 123 eligible family caregivers selected through multi-stage random sampling. Data collection occurred from March to May 2023, utilizing interviews covering health promoting behaviors, caring role anxiety, perceived benefits, perceived barriers, self-efficacy, and social support. The reliability coefficients for these measures ranged from .75 to .91. Descriptive statistics and Pearson correlation coefficient were employed for data analysis. The findings revealed that overall, family caregivers exhibited moderate levels of health promoting behaviors (<em>M</em><sub>adj</sub> = 1.93, SD = 0.36). Among the various dimensions, health responsibility behavior was rated the highest (<em>M</em><sub>adj</sub> = 2.22, SD = 0.53), followed by self-esteem (<em>M</em><sub>adj</sub> = 2.21, SD = 0.48), while food consumption, interpersonal relationships, stress management, and exercise were at moderate levels (<em>M</em><sub>adj</sub> = 1.92 to 1.48). Perceived self-efficacy (r = .387, p &lt; .001), perceived benefits of action (r = .316, p &lt; .001), and social support (r = .230, p &lt; .05) demonstrated statistically significant positive correlations with health promoting behaviors among family caregivers of individuals undergoing peritoneal dialysis. These findings underscore the importance of developing programs aimed at enhancing health promoting behaviors among family caregivers by fostering perceived self-efficacy, recognizing the benefits of action, and providing social support. Such initiatives have the potential to improve caregivers' health and overall well-being.</p> ญาษิดา โชติจุลภัทร วรรณรัตน์ ลาวัง ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ Copyright (c) 2024 2024-04-03 2024-04-03 32 1 1 13 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/nursing/article/view/9604 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2564 สุ่มตัวอย่างตามแบบสะดวก จำนวน 108 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและบันทึกประวัติสุขภาพ แบบสอบถามความทุกข์ยากจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะตนเองด้านการรับประทานอาหาร แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และแบบสอบถามการจัดการตนเองด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบเลือกเข้า ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง (M =12.08, S.D.=2.83) โดยปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพ และสามารถทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้เป็นเบาหวานได้ร้อยละ 9.2 (R<sup>2</sup> adjust =.902 ) (β = 114, p &lt;.05 ) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า ควรมีการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้เป็นเบาหวานทุกรายเพื่อให้สามารถปฏิบัติพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสม This study investigates the eating behavior of individuals diagnosed with type 2 diabetes mellitus (T2DM) at Dankhunthot Hospital, Nakhon Ratchasima, and explores the factors that influence this behavior. Participants were recruited from the Chronic Disease Clinic at Dankhunthot Hospital, and data collection took place between November and December 2021. One hundred and eight participants were randomly selected for the study. Research instruments included demographic data forms, the Diabetic Personal Health Record, Diabetic Distress Questionnaire, Health Literacy of Diabetic Patients Questionnaire, Perceived Self-Efficacy of Eating Questionnaire, Risk Perception of Diabetic Complications Questionnaire, and Simple Self-Management Eating Behavior Questionnaire. Data analysis involved descriptive statistics and multiple regression analysis. The results indicated that eating behavior among individuals with T2DM exhibited poor management (Mean = 12.08, Standard Deviation = 2.83). Health literacy emerged as a significant predictor of eating behavior among individuals with T2DM (Adjusted R^2 = .092, β = .144, p &lt; .05). The findings underscore the importance of disseminating health knowledge to individuals diagnosed with T2DM to facilitate appropriate adjustments in their eating behavior.</p> วันทนีย์ พูนศรี สายฝน ม่วงคุ้ม เขมารดี มาสิงบุญ Copyright (c) 2024 2024-04-03 2024-04-03 32 1 14 25 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารเด็กวัยก่อนเรียน https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/nursing/article/view/9605 <p>งานวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตเทศบาลเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 101 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลเดือนสิงหาคม ถึง กันยายน พ.ศ. 2566 โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 6 ชุด ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความเครียดของมารดา แบบสอบถามสภาพแวดล้อมที่บ้าน แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้หน้าจอของมารดา แบบสอบถามการสนับสนุนของครอบครัว และแบบสอบถามพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารเด็กวัยก่อนเรียน มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ .81, .81, .83, .91, และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ร่วมกันทำนายพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารเด็กวัยก่อนเรียน ร้อยละ 40.7 ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่บ้าน (β = 0.776,&nbsp;<em>p</em>&nbsp;&lt; .05) และการสนับสนุนของครอบครัว (β = 0.503,&nbsp;<em>p&nbsp;</em>&lt; .001) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาล บุคลากรทางสุขภาพ และผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และการสนับสนุนของครอบครัวเพื่อให้มารดามีพฤติกรรมในการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กวัยก่อนเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ&nbsp; This predictive correlational study aimed to investigate the factors predicting maternal behaviors that promote executive function in preschool children. The sample comprised 101 mothers of preschoolers enrolled in child development centers in Chonburi province, selected through simple random sampling. Data collection occurred from August to September 2023, utilizing research instruments such as demographic surveys, maternal stress questionnaires, home environment assessments, maternal screening-viewing behavior assessments, family support inquiries, and questionnaires on maternal behaviors for promoting executive functions in preschool children. The reliability coefficients, measured by Cronbach’s alpha and KR-20, ranged from .81 to .95. Data analysis involved descriptive statistics and multiple regression analysis. Findings revealed that both the home environment (β = 0.776, p &lt; .05) and family support (β = 0.503, p &lt; .001) significantly predicted maternal behaviors aimed at enhancing executive function in preschool children, explaining 40.7% of the variance. These results provide foundational insights for nurses and healthcare professionals involved in fostering conducive home environments and family support structures to encourage maternal behaviors conducive to effective executive function development in preschoolers.</p> อาภาสุวรรณ คล้ายสุบรรณ์ ณัชนันท์ ชีวานนท์ นฤมล ธีระรังสิกุล Copyright (c) 2024 2024-04-03 2024-04-03 32 1 26 37 อิทธิพลของการเผชิญปัญหาและความเข้มแข็งทางใจต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลที่ฝึกวิชาปฏิบัติการพยาบาลขั้นพื้นฐาน https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/nursing/article/view/9606 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเชิงทำนาย เพื่อศึกษาอิทธิพลของการเผชิญปัญหาและความเข้มแข็งทางใจต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลที่ฝึกวิชาปฏิบัติการพยาบาลขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคเหนือ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเครียดสวนปรุง 2) แบบประเมินการเผชิญปัญหา และ 3) แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินเท่ากับ 0.926, 0.753, 0.884 ตามลำดับ&nbsp;วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติความถดถอยพหุคูณแบบขั้น ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 55.29 การเผชิญปัญหาอยู่ในระดับสูงร้อยละ 91.76 ความเข้มแข็งทางใจอยู่ในระดับสูงร้อยละ 92.94 &nbsp;ตัวแปรความเข้มแข็งทางใจสามารถพยากรณ์ความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ฯ ได้ร้อยละ 26.60 (R<sup>2</sup> = 0.266) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;.001) ผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งทางใจโดยการส่งเสริมความสามารถการปรับตัวเชิงบวกและเป็นผู้ที่มีความอดทนและความยืดหยุ่นทางอารมณ์เมื่อเผชิญกับตัวก่อความเครียดขณะฝึกฏิบัติการพยาบาลหรือในสถานการณ์ชีวิตที่เผชิญความยุ่งยากได้อย่างมีประสิทธิภาพ&nbsp; This predictive correlational study aimed to investigate the influence of coping strategies and resilience on stress levels among nursing students during their Fundamental Nursing Practicum. The study included eighty-five sophomore nursing students from a college in the northern region during the academic year 2023. Research instruments included questionnaires on stress, coping strategies, and resilience in nursing practicum, each demonstrating high reliability (0.926, 0.753, 0.884, respectively). Data analysis involved descriptive statistics and Stepwise multiple regression. Findings indicated that stress levels among nursing students were predominantly moderate (55.29%), while coping strategies and resilience were reported at high levels (91.76%, 92.94%, respectively). Notably, only resilience emerged as a significant predictor of stress among nursing students, accounting for 26.60% of the variance (R2 = 0.266). These results suggest the importance of fostering psychological resilience among nursing students. This can be achieved through the development of teaching and learning models aimed at enhancing students' positive adaptability and emotional flexibility in managing stressors during clinical practice. By equipping nursing students with effective coping mechanisms and resilience-building skills, they can navigate challenging situations more effectively, ultimately improving their overall well-being and professional preparedness.</p> ปิยพงศ์ สอนลบ สุวรรณี สร้อยสงค์ สุภาณี คลังฤทธิ์ สมาภรณ์ เทียนขาว นันทวรรณ ธีรพงศ์ ฉันทนา โสวัตร Copyright (c) 2024 2024-04-03 2024-04-03 32 1 38 48 FACTORS INFLUENCING DIETARY BEHAVIORS OF ADULTS WITH RECURRENT KIDNEY STONES IN WENZHOU, CHINA https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/nursing/article/view/9607 <p>Recurrent kidney stones pose a significant global health concern, emphasizing the crucial role of appropriate dietary practices in their prevention. This research, grounded in the Health Belief Model, delves into the dietary behaviors and underlying factors influencing individuals with recurrent kidney stones. The study cohort comprised 110 adults with recurrent kidney stones, selected via simple random sampling from the First Affiliated Hospital of Wenzhou Medical University in Wenzhou, Zhejiang Province, China. Utilizing instruments such as demographic questionnaires, the Health Belief Scale, and the Dietary Behaviors Scale, data analysis was conducted employing descriptive statistics and multivariate regression analysis. The findings underscored a mean dietary behavior score of 55 out of 95 (<em>SD</em>&nbsp;= 8.6), indicating a moderate level of adherence to recommended dietary guidelines. Notably, perceived threat, perceived benefits, perceived barriers, and perceived self-efficacy collectively elucidated 20.4% of the variance in dietary behaviors among adults with recurrent kidney stones. Particularly, perceived threat and perceived barriers emerged as significant predictors of dietary behaviors (β = .287,&nbsp;<em>p</em>&nbsp;&lt; .001; β = -.409,&nbsp;<em>p</em>&nbsp;&lt; .001, respectively). These results underscore the importance of targeted interventions aimed at enhancing dietary behaviors among this demographic. Nurses and healthcare providers are urged to furnish tailored information that addresses specific barriers and heightens perceived threat, thereby fostering preventive measures against recurrent kidney stones.</p> Heting Liang Khemaradee Masingboon Niphawan Samartkit Saifone Moungkum Copyright (c) 2024 2024-04-03 2024-04-03 32 1 49 62 ผลการเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝังเข็มร่วมกับการใช้สุคนธบำบัดต่อความวิตกกังวลและความดันโลหิตในผู้ป่วยฝังเข็ม โรงพยาบาลกลาง https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/nursing/article/view/9608 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝังเข็มร่วมกับการใช้สุคนธบำบัดต่อความวิตกกังวลและความดันโลหิตในผู้ป่วยฝังเข็ม โรงพยาบาลกลางเป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยเก็บข้อมูลแบบกลุ่มเดียววัดก่อนหลัง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล และแบบประเมินความวิตกกังวลเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลองคือคู่มือการเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝังเข็ม คู่มือการให้สุคนธบำบัด เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลและความดันโลหิต ด้วยสถิติ Paired t – test โดยถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ p - value &lt; 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลก่อนและหลังการได้รับการเตรียมผู้ป่วยร่วมกับการใช้สุคนธบำบัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลหลังการฝังเข็มสูงกว่าก่อนการฝังเข็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซีสโตลิกหลังการฝังเข็มลดลงกว่าก่อนการฝังเข็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001)และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตไดแอสโตลิกหลังการฝังเข็มลดลงกว่าก่อนการฝังเข็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) จากการศึกษาสรุปได้ว่าการเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝังเข็มร่วมกับการใช้สุคนธบำบัดในผู้ป่วยฝังเข็ม โรงพยาบาลกลาง ช่วยลดความดันโลหิต แต่ไม่สามารถลดความวิตกกังวล ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากการศึกษาครั้งนี้ การควบคุมตัวแปรกวนในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง รวมถึงการเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างโดยมีการเปรียบเทียบ จะช่วยสนับสนุนผลการศึกษา&nbsp; This quasi-experimental study aimed to assess the effects of patient preparation and aromatherapy on anxiety and blood pressure in acupuncture patients at Bangkok Metropolitan Administration General Hospital. Employing a one-group pretest-posttest design, the study included 25 participants purposively selected based on predetermined criteria. Research instruments comprised a personal information questionnaire and the STAI anxiety questionnaire, while the experimental setup featured a patient preparation guide, an aromatherapy manual, and an automatic blood pressure monitor. Data analysis involved descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation, along with paired t-tests to compare mean anxiety and blood pressure levels. Results demonstrated a statistically significant difference in mean anxiety scores before and after the intervention (p &lt; .05), indicating a notable increase in anxiety levels post-patient preparation and aromatherapy (p = 0.001). Conversely, systolic and diastolic blood pressure levels significantly decreased following the intervention (both p &lt; 0.001), suggesting a potential beneficial effect on blood pressure reduction. However, the observed increase in anxiety warrants further investigation. Future studies should consider larger sample sizes, comparison groups, and confounding factors to validate these findings and provide a comprehensive understanding of the effects of patient preparation and aromatherapy in acupuncture settings. In conclusion, while patient preparation and aromatherapy appear to positively influence blood pressure, their impact on anxiety levels requires careful consideration and further exploration. These findings underscore the importance of tailored interventions in acupuncture practice, emphasizing the need for holistic approaches to patient care.</p> นวพร มีเสียงศรี Copyright (c) 2024 2024-04-03 2024-04-03 32 1 63 75 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลทางไกลสำหรับผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/nursing/article/view/9609 <p>การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลทางไกลของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แนวคิดการพยาบาลทางไกลร่วมกับการใช้กระบวนการพยาบาล (Nursing process) ประกอบด้วย 2 ระยะคือ ระยะที่ 1) ศึกษาหลักการแนวคิด ความเป็นไปได้ในการใช้การพยาบาลทางไกลและสำรวจสภาพปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง กลุ่มผู้บริหารและพยาบาลวิชาชีพ ระยะที่ 2) นำรูปแบบที่พบในระยะที่ 1 มาศึกษาถึงประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลทางไกลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ (การรายงานผลการศึกษาในบทความวิจัยนี้จะรายงานผลเฉพาะในระยะที่ 1) กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในอำเภอสันทราย จำนวน 397 คนโดยการสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามการพยาบาลทางไกล และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้บริหารและพยาบาลวิชาชีพ ศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ผลการศึกษาพบปัญหาในการใช้บริการและความต้องการการใช้รูปแบบพยาบาลทางไกล ดังนี้ 1) การเดินทางมารับบริการ มีปัญหาระดับมาก (Mean = 3.50, SD=1.29) 2) การติดตามดูแลจากพยาบาลมีปัญหาระดับปานกลาง (Mean = 2.56, SD=1.03) 3) การได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลโรคเรื้อรัง มีปัญหาระดับปานกลาง (Mean = 2.56, SD=1.02) 4) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับการบริการ มีปัญหาระดับปานกลาง (Mean = 2.87, SD=1.26) 5) ช่องทางการติดต่อสื่อสารกับพยาบาล มีปัญหาระดับปานกลาง (Mean = 2.69, SD=1.12) และผลการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ด้านการให้บริการผ่านรูปแบบการพยาบาลทางไกลควรมีรูปแบบที่ชัดเจน เน้นกระบวนการพยาบาลตามแนวทางปฏิบัติของสภาการพยาบาลเบื้องต้น ด้านการรักษาความลับต้องมีการรักษาความลับของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ด้านงบประมาณ ควรมีการจัดทำนโยบายที่ชัดเจนตั้งแต่ระบบโรงพยาบาลแม่ข่ายถึงลูกข่าย ดังนั้นรูปแบบการพยาบาลทางไกล ประกอบด้วย 1) ระบบการพยาบาลทางไกลในการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง 2) แอฟพลิเคชันไลน์ ในการกำกับติดตามให้การพยาบาลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังตามกระบวนการพยาบาลทั้ง 5 ขั้นตอน 3) คู่มือการปฏิบัติการพยาบาล 4) โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะสำหรับผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง This research involved research and development. The objective was to study a tele-nursing model suited to the specific context for older patients with chronic diseases utilizing the concepts of Tele-nursing and the nursing process. The study was structured into two phases. Phase 1 aimed to explore the concept of tele-nursing by employing principles and examining the problems and needs of the older patients with chronic diseases utilized a tele-nursing selected by simple random sampling of 397 people with Quantitative questionnaires and conducted in-depth interviews with executive people selected by purposive sampling. Data were collected during December 2022 to May 2023. The results showed that 1) traveling problems to the Sub-District Health Promoting Hospital were at a high level (M = 3.50, SD = 1.29). There were moderate levels: 2) uncovering nursing care problems (M = 2.56, SD = 1.03); 3) receiving chronic health care knowledge problems (M = 2.56, SD = 1.02); 4) expend travel to service units problems (M = 2.87, SD = 1.26); and 5) communication with nurses problems (M = 2.69, SD = 1.12). As identified in-depth interviews concluded, the provision of services through tele-nursing is suitable for the current situation in structured policy for nurses regarding the nursing process with the guidelines set by the nursing council. Maintaining confidentiality during tele-nursing is crucial, particularly for older patients with chronic illnesses. Budgetary theme considerations require the establishment of a clear policy originating from the host hospital system. Therefore, the tele-nursing model comprises 1) a tele-nursing system. 2) Line application facilitating nursing care tailored to the needs of the elderly with chronic diseases according to a 5-step nursing process 3) a handbook outlining nursing practices and a specialized training program designed to enhance skills in caring for older patients with chronic diseases.</p> เบญจมาศ ถาดแสง ปิยะพันธุ์ นันตา นภาพร วงศ์วิวัฒนนุกิจ เพลินจิต คำเสน สุทธิลักษณ์ จันทะวัง Copyright (c) 2024 2024-04-03 2024-04-03 32 1 76 86 ผลของการสนับสนุนทางสังคมจากพยาบาลต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่เข้ารับการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำส่วนกลาง https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/nursing/article/view/9610 <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสนับสนุนทางสังคมจากพยาบาล ในการลดความวิตกกังวลจากการทำหัตถการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำส่วนกลาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการทำหัตถการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำส่วนกลางครั้งแรก ณ หน่วยเปลี่ยนไตและไตเทียม แห่งหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและเกณฑ์คัดออก จำนวน 44 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากพยาบาล และ กลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มละ 22 ราย เก็บข้อมูลระหว่างมกราคม 2565 ถึง มกราคม 2566 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการสนับสนุนทางสังคมจากพยาบาลที่ได้รับการตรวจสอบที่ถูกต้องและเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญของสปิลเบอร์เกอร์ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความวิตกกังวลก่อนและหลังการทดลอง ภายในกลุ่มทดลอง พบว่า มีคะแนนความวิตกกังวลหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=5.93, p&lt;.001) &nbsp;เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความวิตกกังวลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าคะแนนความวิตกกังวลก่อนการทดลองไม่แตกต่างกัน แต่หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนความวิตกกังวลต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=.09, p=.926; t=-2.97, p&lt;.01 ตามลำดับ) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการสนับสนุนทางสังคมจากพยาบาลในการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยซึ่งพยาบาลสามารถใช้วิธีการปฏิบัตินี้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำส่วนกลางอย่างมีคุณภาพ&nbsp; This quasi-experimental study investigates the efficacy of nurse-provided social support in alleviating anxiety associated with central venous catheterization. The sample comprised 44 patients undergoing their first central venous catheterization procedure at a kidney transplant and dialysis unit, meeting specific inclusion and exclusion criteria. Participants were evenly divided into an experimental group, receiving social support from nurses, and a control group receiving standard care. Data collection occurred between January 2022 and January 2023, employing research tools including a Social Support from Nurse Plan, approved by experts, personal data questionnaires, and the Spielberger State-Anxiety Scale, demonstrating high reliability with an alpha coefficient of 0.94. Analysis involved descriptive statistics and t-tests. The findings revealed a noteworthy decrease in anxiety scores within the experimental group post-intervention, indicating a significant reduction in anxiety levels (<em>t</em>=5.93,&nbsp;<em>p</em>&lt;.001). While no significant differences in anxiety scores were observed between the experimental and control groups before the intervention, following the intervention, the experimental group exhibited markedly lower anxiety scores compared to the control group (<em>t</em>=.09,&nbsp;<em>p</em>=.926;&nbsp;<em>t</em>=-2.97,&nbsp;<em>p</em>&lt;.01, respectively). These outcomes underscore the efficacy of nurse-provided social support in mitigating patient anxiety during central venous catheterization. Thus, nurses can utilize this intervention as a benchmark for delivering high-quality care to patients undergoing this procedure.</p> นิคม คำเหลือง Copyright (c) 2024 2024-04-03 2024-04-03 32 1 87 100 การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการตัดมดลูก ท่อนำไข่และรังไข่ออกทั้งหมด เนื่องจากมีเนื้องอกในมดลูก: กรณีศึกษา 2 ราย https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/nursing/article/view/9611 <p>การตัดมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ออกทั้งหมดเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในมดลูก โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอายุมาก การผ่าตัดดังกล่าวอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งขณะผ่าตัดและหลังการผ่าตัดได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคอื่นร่วม เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโลหิตจาง เป็นต้น การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูก เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพและกิจกรรมการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการตัดมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ออกทั้งหมด เนื่องจากมีเนื้องอกในมดลูก จำนวน 2 ราย โดยศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก แบบบันทึกการตรวจร่างกายโดยแพทย์ และแบบบันทึกผ่าตัด ผลการศึกษาพบว่า ระยะก่อนผ่าตัด กรณีศึกษาทั้งสองรายมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดเนื่องจากไม่ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าห้องผ่าตัด ส่วนระยะหลังผ่าตัดกรณีศึกษาทั้งสองรายมีปัญหาและความต้องการคล้ายกันคือ ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัด &nbsp;และขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อกลับไปอยู่บ้าน ปัญหาที่แตกต่างกันคือ กรณีศึกษารายที่ 2 มีอายุมากและมีโรคประจำตัวเมื่อเกิดการเสียเลือดจากการผ่าตัด จึงมีความเสี่ยงต่อเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่า เช่น ภาวะปอดแฟบ และภาวะท้องอืด ส่งผลให้ต้องนอนโรงพยาบาลนานกว่า ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้ในการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพและกิจกรรมการพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับการตัดมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล&nbsp; Total hysterectomy with bilateral salpingo-oophorectomy (TAH with BSO) is a common surgical intervention for managing myoma uteri, particularly among older women. However, this procedure presents unique challenges, especially for patients with comorbidities like hypertension, diabetes mellitus, and anemia. Effective nursing care is crucial to address these challenges and minimize postoperative complications. This study investigates the health issues and nursing care practices of two case studies undergoing TAH with BSO due to myoma uteri, based on analysis of inpatient and outpatient medical records, physical examination records, and surgical operation records. Both case studies exhibited preoperative anxiety due to inadequate preparation, highlighting the importance of comprehensive preoperative education and support. Postoperatively, both patients experienced common challenges such as incisional pain and lack of knowledge regarding home self-care. However, unique health concerns arose in the second case, characterized by advanced age and medical complexities, resulting in higher blood loss during surgery and an elevated risk of complications such as shock, lung atelectasis, and abdominal distension, necessitating a prolonged hospital stay. These findings underscore the need for tailored nursing care guidelines for patients undergoing TAH with BSO, aimed at reducing avoidable complications and shortening hospitalization durations.</p> อรวรรณ พานดอกไม้ Copyright (c) 2024 2024-04-03 2024-04-03 32 1 101 113 องค์ประกอบการเตรียมความพร้อมการเรียนรู้ออนไลน์แบบเชิงรุกร่วมกับแบบเชื่อมโยงของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต: การทบทวนวรรณกรรม https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/nursing/article/view/9612 <p>การเรียนออนไลน์จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อม ทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา พร้อมจะเรียนรู้ ได้โดยไม่มีอุปสรรค รวมถึงอุปกรณ์และสถาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนออนไลน์ ซึ่งองค์ประกอบการเตรียมความพร้อมการเรียนรู้ออนไลน์แบบเชิงรุกร่วมกับแบบเชื่อมโยงมีความสำคัญต่อนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตก่อนการเรียนออนไลน์ สรุปได้ดังนี้ 1) องค์ประกอบการเตรียมความพร้อมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสามารถในการบริหารจัดการตนเอง ความรักในการเรียน แรงจูงใจในการเรียนรู้ และการตรวจสอบหรือติดตามตนเอง 2) องค์ประกอบการเรียนรู้ออนไลน์เชิงรุก ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้เรียน กิจกรรม และแหล่งทรัพยากร และ 3) องค์ประกอบการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเป็นอิสระ ความหลากหลาย การโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์ การเปิดกว้าง และสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะช่วยผลักดันให้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์เป็นไปด้วยความราบรื่นและประสบความสำเร็จ และบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้&nbsp; Transitioning to online learning necessitates comprehensive preparation across various dimensions, including physical, emotional, mental, social, and intellectual aspects to facilitate seamless knowledge acquisition. This readiness extends to acquiring the requisite tools and fostering an environment conducive to online learning. For Bachelor of Nursing students, effective preparation for active online learning within a connected learning framework is paramount for successful engagement in their studies. These preparatory components encompass several key facets: 1) self-directed readiness, comprising self-management skills, a passion for learning, intrinsic motivation, and self-monitoring abilities; 2) elements of active online learning, encompassing learner engagement, interactive activities, and accessible resources; and 3) connected learning components, embracing independence, diversity, interaction, openness, and ongoing learning support. The integration of these components ensures the smooth progression and attainment of learning objectives in the online teaching and learning environment for nursing students.</p> ธีระชล สาตสิน สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล ศรินย์พร ชัยวิศิษฎ์ Copyright (c) 2024 2024-04-03 2024-04-03 32 1 114 121