ยุทธศาสตร์การจัดการแบรนด์เพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก

Authors

  • อนุพงษ์ แต้ศิลปสาธิต
  • วิชิต อู่อ้น

Keywords:

ทีมฟุตบอล, การจัดการ, ชื่อตราผลิตภัณฑ์, ฟุตบอล

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกและศึกษาองค์ประกอบทางธุรกิจ ตลอดจนสร้างยุทธ์ศาสตร์การจัดการแบรนด์เพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก อันจะนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงการกีฬาแห่งประเทศไทย ผู้บริหารบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ผู้บริหารสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้บริหารสโมสรฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก นักวิชาการ ผู้เชียวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 23 คน ตัวอย่างซึ่งกลุ่มที่ให้ข้อมูลสำคัญถูกคัดเลือกแบบเจาะจง เมื่อทำการวิจัยเชิงคุณภาพแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อตรวจสอบความคิดเห็น และลำดับความสำคัญของยุทธ์ศาสตร์อีกครั้ง ด้วยการแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มที่เกี่ยวข้องและมีอิทธิพลกับยุทธ์ศาสตร์การจัดการแบรนด์เพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก จำนวน 475 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่าการวิเคราะห์เนื้อหาในลักษณะของการเปรียบเทียบข้อมูลเชิงตรรกะเพื่อตีความข้อมูลในเรื่องยุทธ์ศาสตร์การจัดการแบรนด์เพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก และสถิติที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อตรวจสอบคือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)          ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพ เรื่องยุทธ์ศาสตร์การจัดการแบรนด์เพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก ยังมีแง่มุมต่างๆที่มีความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจการกีฬาและการบันเทิง อาทิเช่น การบริหารและการจัดการแบบมืออาชีพ งบประมาณ การตลาด การสื่อสาร และสร้างชื่อเสียง ตลอดจนการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์          ผู้วิจัยนำเสนอแผนยุทธ์ศาสตร์ 6 ด้าน ดังนี้          1.  การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของสโมสร          2.  การสร้างคุณค่าของสโมสรฟุตบอลให้สูงกว่ามูลค่าต้นทุน          3.  การกำหนดจุดยืนของสโมสรเพื่อการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ          4.  การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งและสามารถพัฒนาวัฒนธรรมนั้นให้มั่นคงเป็นธุรกิจได้          5.  การสร้างความสำเร็จของสโมสรที่ยั่งยืน          6.  ยุทธ์ศาสตร์การจัดหารายได้           The aim of this research was to study internal and external factors affecting the performance, business components, and brand management strategies for Thai Premier League Professional Football Club Development, This will ultimately lead to clear and concrete principles of practice.          This research is a qualitative research using the in-depth interview strategy. The key informants in this research are top executives of Sport Authority of Thailand, the executives of Thai Premier League Co., Ltd. The executives of Football Association of Thailand under the royal patronage of the King, the executives of the Thai Football Premier  League Club, academicians, specialists, and related key informants from 23 samples. The method of key informant selection is Purposive Random Sampling. The research is also a qualitative research since opinions verification is studied too. Strategies prioritization is also studied through the information obtained through 475 sets of questionnaire distributed among the related groups of the key informant who was involved with the brand management strategies for the Thai Premier League Football Club.          The logical design and comparative study was used in the qualitative data analysis in order to interpret the information involving with the brand management strategies. The statistical tools that were utilized were the Mean and Standard Deviation.          According to the qualitative data analysis, it is interpreted that there are many aspects that need concerns and they obviously affect the success of the brand management of the football club.           The researcher suggests the following 6 aspects:            1.  The entrepreneurship building for the football club owner.          2.  Increasing the value of the football club so it has greater value than the cost value.          3.  Setting up of the standpoints for the effective football club development strategies.          4.  Building the strong organization culture and such culture should be developed to business.          5.  Building the football club’s success sustainable.          6.  Initiating the Business Profit Unit.

Downloads

Published

2024-02-07