แนวทางการพัฒนาศักยภาพการตลาดสำหรับผู้ประกอบการ: กรณีศึกษาวิสาหกิจผลิตภัณฑ์เทียนหอม จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • ผจงศักดิ์ หมวดสง

Keywords:

การตลาด, ผู้ประกอบการ, เทียน, วิสาหกิจชุมชน, เชียงใหม่

Abstract

            การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดของผลิตภัณฑ์เทียนหอมในปัจจุบัน เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจในการทำแผนการตลาด 2) เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลลักษณะวิสาหกิจและปัจจัยจูงใจในการประกอบวิสาหกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจผลิตภัณฑ์เทียนหอม ในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการตลาดในปัจจุบันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อมผลิตภัณฑ์เทียนหอม ในจังหวัดเชียงใหม่ 4) เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เทียนหอม 5) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เทียนหอมของผู้บริโภคและเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการตลาดสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อมผลิตภัณฑ์เทียนหอม ในจังหวัดเชียงใหม่ ผลของงานวิจัยพบว่า สถานการณ์ตลาดของผลิตภัณฑ์เทียนหอมในปัจจุบันยังมีแนวโน้ม ที่เจริญเติบโตอีกมาก เนื่องจากผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ประกอบกับผู้ประกอบการมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เช่น ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์โดยเลือกกลิ่น เช่น กลิ่นดอกไม้ กลิ่นส้ม เป็นต้น ธุรกิจเทียบหอมจัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจหัตถกรรมงานฝีมือ อยู่ในหมวดสินค้าที่ระลึก ในปัจจุบันเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศ ด้วยความหลากหลายของรูปแบบสีสัน และกลิ่นหอมนานาชนิด ผู้ประกอบการมีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นยอดขายในประเทศให้มากยิ่งขึ้น เช่นมีการประชาสัมพันธ์แหล่งผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเทียนหอม และการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเทียนหอมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน และการเปรียบเทียบทัศนคติของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เทียนหอม ที่มี เพศ อายุ รายได้ ต่อเดือนแตกต่างกันพบว่า มีทัศนคติที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับผู้บริโภคที่มี เพศ อายุ รายได้ และวัตถุประสงค์ในการซื้อมีผลต่อพฤติกรรมในการซื้อผลิตภัณฑ์เทียนหอม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05            This study has objectives: 1) to study individual data, characteristic of enterprises, factors attracting entrepreneur for scented-candle product entrepreneurship of Chiang Mai Province 2) to study the data concerning the present market of SME for the product 3) to study the individual data and viewpoint of consumer towards the product 4) to study consumers’ behavior and trend of behavior for the product and 5) to determine the trend of potential development of market entrepreneur for scented-candle product-SME in Chiang Mai Province. The result, in case of the entrepreneur, reseal that the products have a continuous development giving shopkeepers various choices, and have great demand from overseas markets. It was found that most of the entrepreneurs are SME with the driven attraction for entrepreneurship derived from their ancestors. An important way to boost their sales is to continuously launch sales events in country. For consumers, it was revealed that gender, age, income, and purpose of purchase have influences on consumers’ behaviors.

Downloads