การพัฒนารูปแบบการจัดหางบประมาณเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบบูรณาการ กระทรวงแผนการและการลงทุน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) หลังปี 2563

Authors

  • นิดถา บุบผา
  • บรรรพต วิรุณราช

Keywords:

งบประมาณ, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อศึกษาวิธีการและรูปแบบจัดหางบประมาณในการพัฒนาทรัพยากร มนุชย์ของกระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาว หลังปี พ.ศ. 2563 โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group) กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์แบบ Focus group ผู้ให้สัมภาษณ์ในการจัดกลุ่มสนทนาครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและ ผู้มีออำนาจตัดสินใจและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหาร การจัดหาและจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในระดับกรมหรือเทียบเท่ากรม และหน่วยงานของกระทรวงแผนการและการลงทุน และของกระทรวงภายในของ สปป. ลาว และภาคเอกชน เช่น รองปลัดกระทรวงรองอธิบดีกรมจัดตั้งและพนักงาน รักษาการรองอธิบดีกรมร่วมมือสากล หัวหน้า แผนกจากกรมแผนการ รองผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมพนักงาน หัวหน้าแผนกการเงิน หัวหน้าแผนกนิติกรรม ของกระทรวง แผนการและการลงทุน อธิบดีกรมประเมินและพัฒนารัฐกร (บุคลากรภาครัฐ) อธิบดีกรมคุ้มครองรัฐกร และหัวหน้า สถาบันค้นคว้าวิทยาศาสตร์การปกครองและฝึกอบรม กระทรวงภายใน และรองประธานสมาคมนักธุรกิจหนุ่มแห่งชาติลาว โดยการ Focus group ได้จัดขึ้นจำนวน 2 ครั้ง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า รูปแบบจัดหางบประมาณในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของกระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาว ที่สามารถกระทำได้มากที่สุดประกอบด้วย 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนในการจัดฝึกอบรม 2. การสนับสนุนจากองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาล เช่น องค์กรเอกชน/ มหาชน องค์กรระหว่างประเทศ 3. การบริการวิชาการให้กับองค์กรรัฐอื่น ๆ และเอกชนแล้วเก็บค่าบริการThe research entitled “The Development of Raising the Budget for integrated Human Resource Development of the Ministry of Planning and Investment in Laos PDR after the Year 2020” had the following objectives: 1) to study the method and approach to raise the budget for integrated development human resources and 2) to develop a budget for the integrated development of human resources of the Ministry of Planning and Investment through actual practical trial (test pattern). Qualitative interview, study group (Focus Group), and actual practice (experimental models) were methods used for the study. For qualitative study, the data were collected from the focus group discussion of executives of the Ministry of Planning and Investment, 10 executives of the private sectors and 2 observers. And to the actual practice, the summary of the results of the focus group were used for the action research. The findings according to the first objective revealed that there were top three possible models of raising the budget for human resource development of the Ministry of Planning and Investment in Laos PDR. 1. There was the cooperation between government and the private sector in training, and registration of one person from the private sector could cover one official from the government sector. 2. There was support from non-government organizations such as private, public and international organizations. 3. There were academic services for both government organizations and private organizations and these organizations should pay for the services.

Downloads