การจัดการคุณภาพโดยรวมและประสิทธิภาพของกิจการด้านการผลิตลาว

Authors

  • สุธนา บุญเหลือ

Keywords:

การจัดการคุณภาพโดยรวม, การประเมินผลองค์กรแบบสมดุล

Abstract

การจัดการคุณภาพโดยรวมและการประเมินผลองค์กรแบบสมดุลเป็นทฤษฎีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วง หลายทศวรรษที่ผ่านมา เพื่ออธิบายถึงผลการดำเนินงานของกิจการต่าง ๆ งานวิจัยชิ้นนี้ได้นำแนวคิดเรื่องการจัดการคุณภาพ โดยรวมและการประเมินผลองค์กรแบบสมดุลมาประยุกต์ใช้เพื่อพิจารณาถึงผลการดำเนินงานของกิจการด้านการผลิตของ ลาว วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อพิจารณาถึงด้านต่าง ๆ ของการจัดการคุณภาพโดยรวมที่มีผลต่อการดำเนินงาน ของกิจการด้านการผลิตลาว และเพื่อตรวจสอบความสำคัญด้านต่าง ๆ ของการจัดการด้านคุณภาพในกิจการ เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการกำหนดนโยบายของกิจการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความสามารถในการแข่งขันของกิจการด้านการผลิตลาว โดยทำการ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกิจการด้านการผลิตลาวในเวียงจันทน์ จำนวน 94 กิจการ การทดสอบสมมติฐานครั้งนี้ ใช้ตัวแบบการวิเคราะห์การถดถอยแบบ OLS ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า กระบวนการจัดการและบทบาทของการควบคุม คุณภาพต่างเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของกิจการ อย่างไรก็ตาม บทบาทของผู้นำการฝึกอบรม การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ คุณภาพของข้อมูลและการรายงาน และความสัมพันธ์ของพนักงานนั้นไม่มีนัยสำคัญ ต่อผลการดำเนินงานของกิจการ สรุปได้ว่า ด้านกระบวนการจัดการและด้านการควบคุมคุณภาพต่างมีนัยสำคัญที่มีอิทธิพล ต่อความสำเร็จของกิจการด้านการผลิตของลาว ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้สามารถอธิบายถึงประสิทธิภาพของกิจการด้านการผลิตลาว ที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยกิจการควรมุ่งเน้นไปที่กระบวนการจัดการและการควบคุมคุณภาพ และกิจการ ควรกำหนดนโยบายด้านคุณภาพให้ชัดเจนอันเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกิจการ โดยกิจการสามารถนำไปเป็นแนวทางในการลดต้นทุนและการลดค่าบำรุงรักษาหรือเพื่อสร้างความแตกต่างของกิจการได้The total quality management (TQM) and balanced scorecard (BSC) have been a very well-known theory to explain performance over the past decades. This research tends to apply TQM’s and BSC’s concepts to investigate the performance of Lao manufacturing firms. The objectives of this research are to identify critical TQM dimensions to explain organizational performance for LAO manufacturing firms, to determine the degree to which an organization’s quality practices and policies as an instrument to improve competitiveness of for LAO manufacturing firms, and to modify the concept of competitiveness for LAO manufacturing firms. 94 manufacturing firms in Vientiane were selected as the sample to provide data through the questionnaire used as an instrument for the data collection. The Ordinary Least Squares (OLS) regression analysis is a method for testing the hypotheses. The findings suggest the process management and the role of quality control are the key factors to increase organization performance. However, role of leadership, training, product and service design, product and service design, quality data and reporting, and employee relations are not significant to the organization performance. According to the research objectives, it can identify critical TQM dimensions to explain organizational performance for LAO manufacturing firms. The degree of organization’s quality practices and policies are used as an instrument to improve competitiveness for LAO manufacturing firms which focuses on process management and quality control of the firms. Finally, the findings can be modified as the concept of competitiveness for LAO manufacturing firms. The process management and the role of quality control factors significantly influencethe success of the manufacturing firms and contributes to competitive advantage because they lead to cost reduction and maintain success in differentiation.

Downloads