การส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปข้าว (ข้าวหลาม) เพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญา กรณีบ้านไผ่ หมู่ที่ 5 ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

Authors

  • สุชีรา ธนาวุฒิ
  • สุธิรา เจริญ

Keywords:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, แบบมีส่วนร่วม, การแปรรูป, การอนุรักษ์, ภูมิปัญญา, ศูนย์การเรียนรู้

Abstract

          การส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปข้าว (ข้าวหลาม) เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญา: กรณีบ้านไผ่ หมู่ 5 ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เผยแพร่องค์ความรู้ และข้อมูลในการทำข้าวหลาม 2) เพื่อเสริมสร้าง และออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน 3) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และศึกษา ตลอดจนสามารถนำไปประกอบอาชีพให้แก่เยาวชนและผู้สนใจ การวิจัยในครั้งนี้มีฐานแนวความคิดอยู่ที่กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research : PAR) เพื่อสร้างองค์ความรู้ รวมถึงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของสมาชิกเกษตรกรผู้แปรรูปข้าว โดยเน้นกระบวนการถ่ายโอนความรู้ และการมีส่วนร่วมของสมาชิกเกษตรกรผู้แปรรูปข้าวในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ร่วมกัน ผลการวิจัย พบว่า ด้านความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กระบวนการจัดการความรู้และเงื่อนไขที่มีผลต่อการจัดการความรู้ ผลการศึกษาพบว่า 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแปรรูปข้าว (ข้าวหลาม) เกี่ยวข้องกับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อมาจากบรรพบุรุษ จนกลายเป็นองค์ความรู้ประจาท้องถิ่นที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมและการวิถีการดำเนินชีวิต 2) กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแปรรูปข้าว (ข้าวหลาม) ประกอบไปด้วย (1) การคิดและตัดสินใจร่วมกันของสมาชิกกลุ่ม (2) การแสวงหาความรู้ที่มาจากภายในและภายนอกกลุ่มเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ (3) การแลกเปลี่ยนความรู้อย่างไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกมีความรู้และทักษะในการผลิตมากขึ้น (4) การจัดเก็บความรู้ในตัวบุคคล และ (5) การถ่ายทอดความรู้ ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยกระบวนการจัดการความรู้มีลักษณะเป็นวงจรเมื่อถ่ายทอดความรู้แล้ว สามารถย้อนกลับไปกำหนดความรู้ในรูปแบบอื่น ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง 3) เงื่อนไขที่ทำให้การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแปรรูปข้าว (ข้าวหลาม) ประสบความสำเร็จ มี 4 เงื่อนไขที่สำคัญได้แก่ (1) ภาวะผู้นำ (2) วัฒนธรรม (3) โครงสร้างพื้นฐาน (4) การจัดการความรู้ รวมถึงข้อค้นพบที่สำคัญของงานวิจัย คือ การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสมาชิกเกษตรกรผู้แปรรูปข้าว (ข้าวหลาม)          This research encourages and establishment a learning center for rice transforming (Khao Lam) to conserve wisdom: Banphai, Moo 5 Tambol Khrabuangyai Phimai District, Nakhon Ratchasima. The purpose is to 1) Disseminate knowledge and information on making rice. 2) To strength and design the learning process of the community. 3) To be a source of learning and education, and able to pursue careers for the people. This research has a conceptual basis in the Participatory Action Research (PAR).          To build knowledge including the conservation of wisdom the farmers. By focus on the knowledge transfer process. The participation of members in the establishment of a joint learning center. The results of the research revealed that the knowledge of local wisdom knowledge management. Process and condition that affect knowledge management. The study indicated that 1) Local wisdom in rice transforming (Khao Lam) relates to knowledge, ability and experience. Inherited from the ancestors. 2) The local knowledge management process on rice transforming (learning) consists of (1) The thinking and decision-making of the native, Group members (2) Seeking knowledge from within and outside the group to gain new knowledge. (3) Sharing knowledge with Informal pattern and sharing knowledge within the group. To provide members with more knowledge and skills in production. (4) Knowledge storage and (5) Knowledge transfer. Knowledge management process is a cycle of knowledge transfer. 3) The conditions that make knowledge management. Local wisdom in rice transforming (Khao Lam) success. There are 4 important conditions such as (1) Leadership (2) Culture (3) Infrastructure and (4) Knowledge management include the important findings of the research is to live the philosophy of sufficiency economy. Members of the farmers (Khao Lam).

Downloads