ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการกำไรกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Authors

  • จันทิมา จุฬาวิทยานุกูล
  • วชิระ บุณยเนตร

Keywords:

การจัดการกำไร, รายการคงค้าง, การสอบบัญชี

Abstract

          การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการกำไรกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมุ่งศึกษาการจัดการกำไรผ่านรายการคง ค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่าง คือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปี 2548 และ 2549 ยกเว้นบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงิน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical  study) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (ความถี่และร้อยละค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าฐานนิยมและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติเชิงอนุมาน (การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ) ในการวิเคราะห์ข้อมูล          เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวมแล้ว ผลการวิจัยพบว่า ณ ระดับความเชื่อมั่น 95% การจัดการกำไรไม่มีความสัมพันธ์กับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี อย่างไรก็ตามผลการทดสอบตัวแปรควบคุมพบว่า ขนาดของบริษัทผลขาดทุนจากการดำเนินงาน ขนาดของสำนักงานสอบบัญชี และจำนวนบริษัทย่อยที่นำมาทำงบการเงินรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี การศึกษาครั้งนี้ได้พยายามวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการจัดการกำไรกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET 50 ผลการวิจัยพบการจัดการกำไรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี           The purpose of this thesis is to analyze the association between earnings management, using discretionary accruals as proxy, and audit fees of listed companies in the Stock Exchange of Thailand (SET). The data set is comprised of quoted companies during 2005 and 2006, excluding financial business consisting. Empirical study is selected as research methodology. Both descriptive and inferential statistics are adopted to analyze the data.          When analyzing the overall data, at 95% confidence interval, earnings management on discretionary accruals does not correlate with audit fees. However, the results of control variables show that firm size, losses in operations, audit firms size and the number of consolidated subsidiaries are statistically significant to audit fees in positive manners. Moreover, the study attempts further by using SET 50 companies as samples. It is found that earnings management is positively significant to audit fees.

Downloads