การวิเคราะห์โครงสร้างค่าใช้จ่ายและการพยากรณ์ค่าใช้จ่ายการรักษาเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิสซึม

Authors

  • ศิริชัย พงษ์วิชัย
  • อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า
  • วชิระ บุณยเนตร

Keywords:

ค่าใช้จ่าย, ค่าใช้จ่ายการรักษา, เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น, บกพร่องทางการเรียนรู้, ออทิสซึม

Abstract

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์โครงสร้างค่าใช้จ่ายการพัฒนาศักยภาพเด็กที่ภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิสซึม รวมทั้งพัฒนาตัวแบบของค่าใช้จ่ายทางบัญชี และเศรษฐศาสตร์ที่เป็นมาตรฐานสากลในการพัฒนาศักยภายเด็กพิเศษดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้สำรวจค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาและค่าใช้จ่ายของครอบครัว โดยสำรวจจากหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ โรงพยาบาล และสำรวจจากผู้ปกครอง ในลักษณะการตอบแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการทำ Focus group ของกลุ่มตัวอย่างที่กระจายในทุกภาคทั้วประเทศไทย จำนวน 1,430 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติพื้นฐานเพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของโครงสร้างค่าใช้จ่ายของเด็กพิเศษทั้ง 3 กลุ่ม และมีการใช้สถิติเชิงอนุมาน (การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ) ในการอธิบายผลการวิจัย          ลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ปกครองเด็กพิเศษที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 67.83 ผู้ปกครองมีอายุเฉลี่ย 42.71 ปี มีอายุต่ำสุด 20 ปี และมีอายุสูงสุด 85 และประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 62.52 ผู้ปกครองที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีรายได้ไม่เกิด 8,000 บาท ในสัดส่วนที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.85 มีการศึกษาอยู่ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 70.63 ส่วนเด็กพิเศษที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มเด็กพิเศษที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนคนพิการ คิดเป็นร้อยละ 51.48 มากกว่ากลุ่มที่จดทะเบียนคนพิการ คิดเป็นร้อยละ 49.52 โดยผู้ปกครองเป็นผู้ดูแลเองเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 71.10 นอกนั้น ผู้ปกครองมักจะให้สถานพยาบาลทางราชการและเอกชนดูแล สำหรับช่วงอายุที่พบว่าเป็นเด็กในปกครองมีลักษณะเป็นเด็กพิเศษพบในช่วงอายุไม่เกิน 12 เดือนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 39.09 และมีการเข้าพบแพทย์ในช่วงอายุ 13-36 เดือน คิดเป็นร้อยละ 41.20 การศึกษาของเด็กพิเศษที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 73.84 ในการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ศึกษาค่าใช้จ่ายของเด็กพิเศษ 3 ด้าน คือ ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ ค่าใช้จ่ายในครอบครัว และ ค่าใช้จ่ายทางการศึกษา ผลการศึกาพบว่าค่าใช้จ่ายรวมต่อปีต่อคนในการเลี้ยงดูเด็กพิเศษที่เป็นโครงสร้างค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กทั้ง 3 กลุ่มมีโครงสร้างที่แตกต่างกันตามประเภทของเด็กพิเศษและระดับอาการ แต่รูปแบบของโครงสร้างค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่มีรูปแบบที่แน่นอน และสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ เด็กพิเศษประเภทสมาธิสั้นที่มีระดับอาการน้อย ปานกลาง และ มาก มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรวมต่อปีต่อคนเท่ากับ 33,488 บาท 64,118 บาท และ 21,717 บาทตามลำดับ เด็กพิเศษประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ที่มีระดับอาการน้อย ปานกลาง และ มาก มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรวมต่อปีต่อคนเท่ากับ 17,476 บาท 36,505 บาท และ 51,411 บาทตามลำดับ และเด็กพิเศษประเภทออทิสซึมที่มีระดับอาการน้อย ปานกลาง และมาก มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรวมต่อปีต่อคนเท่ากับ 128,292 บาท 74,091 บาท และ 205,980 บาทตามลำดับ การศึกษาความสัมพันธ์ของค่าใช้จ่ายของเด็กพิเศษกับคุณลักษณะของผู้ปกครองและลักษณะของเด็กพิเศษพบว่าค่าใช้จ่ายรวมเด็กพิเศษมีความสัทมพันธ์กับรายได้ครอบครัวของเด็กทั้ง 3 ประเภท          การศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครองในการที่จะทราบโครงสร้างค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการมีเด็กพิเศษอยู่ในครัวเรือน นอกจากนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลความต้องการของผู้ปกครองที่จะพัฒนาบุตรหลานที่เป็นเด็กพิเศษ ทั้งนี้อาจช่วยในการกำหนดงบประมาณให้สอดคล้องกับการรักษาดังกล่าว ทั้งที่เพื่อรักษาเด็กพิเศษในแต่ละกลุ่มให้สอดคล้องกับการรักษาที่จำเป็นและสมควร           The study aims to survey and analyze the Medical, Educational and family cost structure in developing the potential of Attention Deficit Disorder, Learning Disabilities and Autism students, including developing of accounting and economic cost structure model to meet international standard in developing those students. This study surveyed data from both public and private organizations such as ministry of education, hospitals and parents by using questionnaire including depth interviews and focus group. The sample is composed of 1,430 students as mentioned above. The statistical techniques used in analyzing the basic data of cost structure are mean, standard deviation, and testing hypotheses by regression analysis.          The demographic backgrounds of most parents who take care of those students are female, 42.71 years old in average, the minimum age is 20 years old the maximum is 85 years old. Most of them do their own business and can earn not more than 8,000 baht per mouth. Most of them finished bachelor degree. Those students are not registered as the handicap 51.48 percent. Most of them are taken care by their parents 71.10 percents; others use the service of public hospital and some private organizations. Most of them found the symptom of those students since they were not more than 12 mounts and go to the doctor between 13-36 months. The educational levels of those students are in primary school.          This research aims to study the 3 types of expenditures which are medical, family and educational expenditures. The study found that the total cost structure per year varied through the type of the students and the level of the symptom. The model of the cost structure was uncertainty and could be concluded as follows: the attention Deficit Disordered student who had less, moderate, and heavy symptoms had average cost per year 33,488 baht, 64,118 baht, and 21,717 baht respectively. The learning Disabilities student who had less, moderate, and heavy symptoms had average cost per year 17,476 baht, 36,505 baht, and 51,411 baht respectively, and Autism student who had less, moderate, and heavy symptoms had average cost per year 128,292 baht, 74,091 baht, and 205,980 baht receptively.          This study analyses the relationship between the total costs and demographic backgrounds of both parents and students. It is found that the total costs of all types of special children had statistical significance with parent’s income.          This study provides the benefits to the parents of those students to acknowledge the cost structure in order to manage their budgets according to the symptom of the children.

Downloads