การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ กรณีศึกษา : แป้งเด็กเนื้อโลชั่นตราโคโดโมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
การสื่อสาร, การตลาด, บูรณาการ, การรับรู้, การตัดสินใจซื้อ, ผลิตภัณฑ์, แป้งเด็ก, โลชั่น, ตราโคโดโมAbstract
การวิจัยเรื่อง การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ กรณีศึกษา : แป้งเด็กเนื้อโลชั่นตราโคโดโมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครนี้ ขอบเขตการวิจัยใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริโภคเพศชาย และหญิง อายุ 15-55 ปี เคยใช้แป้งเด็กมาก่อนและอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามแบบปลายปิดในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิเคราะห์เชิงพรรณา ด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบอย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ และอายุ ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ใหม่แป้งเด็กเนื้อโลชั่นตราโคโดโมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกัน ในขณะที่สถานภาพระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยบุคคลต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ใหม่แป้งเด็กเนื้อโลชั่นตราโคโดโมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน นอกจากนี้ การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการในด้านของแนวความคิดทางการตลาด การรับรู้ต่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด ความสอดคล้อง ความต่อเนื่อง และการมีทิศทางเดียวกันโดยใช้เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาด ได้แก่ สื่อโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการตลาด และการจัดกิจกรรมทางการตลาด มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ใหม่แป้งเด็กเนื้อโลชั่นตราโคโดโม ที่ระดับสำคัญทางสถิติ 0.05 ในส่วนของการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ใหม่แป้งเด็กเนื้อโลชั่นตราโคโดโม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับแนวโน้มการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่แป้งเด็กเนื้อโลชั่นตราโคโดโมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ระดับสำคัญทางสถิติ 0.05 The first objective of this study is to investigate the impacts of demographic factor on perception on new products “Kodomo Dust Free Lotion Powder” of consumers in Bangkok. The second objective is to find out the relationship between integrated marketing communication and the perception on new products “Kodomo Dust Free Lotion Powder”. The last objective is to investigate the relationship between the perception on new product Kodomo Dust Tree Lotion Powder and consumers’ decision making in purchasing such mentioned new products. The study is the survey research by using questionnaires to collect the data from 400 samplings. The target population, male and female aged between 15-55 years old living in Bangkok who experience in using “Powder”. In order to analyze the data, both descriptive statistics such as the frequency, the per cent frequency, the mean, the standard deviation and inference statistics particularly on the Pearson Correlation are applied in this study. As far as the inference statistics is concerned, differences in demographic factor such as status, education, occupation, and income generates differences in perception while differences in gender and age cause no differences in perception. Integrated marketing communication based on marketing communication tools such as advertising media, public relation, promotion, and marketing activities are found out to be positively related to perception which in turn is positively related to consumers’ decision making in purchasing new products at the significant level of 0.05Downloads
Issue
Section
Articles