กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อยาสมุนไพรไทยของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • นวลพรรณ เทียมสุวรรณ
  • ธีรวัฒน์ ไพบูลย์กุลกร

Keywords:

กระบวนการ, การตัดสินใจเลือกซื้อ, ยาสมุนไพรไทย

Abstract

          การศึกษาเรื่อง กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อยาสมุนไพรไทยของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อยาสมุนไพรไทย และเปรียบเทียบระดับการใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อยาสมุนไพรไทยของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะประชากรศาสตร์แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อยาสมุนไพรไทยของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีความสนใจยาสมุนไพรและมีศักยภาพในการซื้อยาสมุนไพรไทยในอนาคต ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) จำนวน 450 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครมีการใช้กระบวนการก่อนตัดสินใจเลือกซื้อยาสมุนไพรไทยในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง โดยด้านการรับรู้ปัญหาในระดับสูงด้วยค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการประเมินทางเลือก และด้านการค้นหาข้อมูล ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ อาชีพและรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีระดับการใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อยาสมุนไพรไทยที่ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้บริโภคที่มีสถานภาพแตกต่างกันมีระดับการใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อยาสมุนไพรไทยที่แตกต่างกัน 3 ด้าน คือ ด้านการรับรู้ปัญญา ด้านการประเมินทางเลือก และภาพรวมของกระบวนการก่อนตัดสินใจ และผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีระดับการใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อยาสมุนไพรไทยด้านการค้นหาข้อมูลเท่านั้นที่แตกต่างกัน ส่วนการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อยาสมุนไพรไทยของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย และ ด้านการส่งเสริมการตลาดมีผลต่อการใช้กระบวนการก่อนตัดสินใจเลือกซื้อยาสมุนไพรไทยในภาพรวม และด้านการประเมินทางเลือก ส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อยาสมุนไพรไทยด้านการรับรู้ปัญหามี 2 ด้าน คือ ด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาด นอกจากนี้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อยาสมุนไพรไทยด้านการค้นหาข้อมูลมี 2 ด้าน คือ ด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาด นอกจากนี้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อยาสมุนไพรไทยด้านการค้นหาข้อมูลมี 2 ด้าน คือ ด้านการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาด           The objectives of this study can be classified into 3 goals. The first goal is to study the level of consumers’ purchasing decision process in buying Thai Herbal Medicine. The second goal is to find out the impacts of the demographic factor towards consumers’ purchasing decision process in buying Thai Herbal Medicine. The last goal is to scrutinize the impacts of the marketing mix factor towards such process. The study is based on the survey research using questionnaires to collect the data for 450 samplings from the target population, that is, the consumers in Bangkok interested in Thai Herbal Medicine and having purchasing power to buy this medicine in the future through the multi-stage random sampling method. In order to analyze the data, both descriptive statistics such as the frequency, the percent frequency, the mean, the standard deviation and inference statistics particularly the t-test statistics, the F-test statistics, and the regression analysis are applied in this study.          The results obtained from the descriptive statistics suggest that most of the respondents are female and single. The ages are between 20-30 years old with highly educational level at bachelor degree. Most are working in private companies or as employees having average income of about 10,001-15,000 baht. With respect to consumers’ purchasing decision process as a whole and in details, they are found out to be on the high level ranking from need recognition following by evaluation of alternative, and information search.          As far as the inference statistics is concerned, it can be concluded that differences in demographic factor such as gender, age, occupation, and income causes no differences in consumers’ purchasing decision process. Differences in status generates differences in consumers’ purchasing decision process in terms of need recognition, evaluation of alternatives, and purchase decision while differences in education generates differences in consumers’ purchasing decision process in terms of information search.          The marketing mix factor, namely, product, price, place, and promotion play an important role to consumers’ purchasing decision process on the whole and in terms of evaluation of alternatives. In terms of need recognition, it is influenced by price and promotion while the information search is influenced by place and promotion.

Downloads