การพัฒนาแบบจำลองการพิจารณาความน่าเชื่อถือทางการเงิน สำหรับธุรกิจจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Keywords:
ความน่าเชื่อถือ, การเงิน, อัตราส่วนทางการเงิน, ตัวแปรสัมพันธ์, มูลค่าทางการตลาดAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาตัวแปรอัตราส่วนทางการเงิน ตัวแปรสัมพันธ์กับมูลค่าทางการตลาด และคุณลักษณะของธุรกิจที่สามารถพยากรณ์การพิจารณาความน่าเชื่อถือทางการเงินของธุรกิจ (2) เพื่อพัฒนาแบบจำลองการพิจารณาความน่าเชื่อถือทางการเงินสำหรับธุรกิจ 3) เพื่อทดสอบอิทธิพลเชิงสาเหตุของตัวแปรพยากรณ์ผลการพิจารณาความน่าเชื่อถือทางการเงินจากแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นต่อผลตอบแทนของหลักทรัพย์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบจับคู่ (Matched pair) ระหว่างบริษัทที่มีปัญหาทางการเงินและเป็นบริษัทที่ไม่มีปัญหาทางการเงิน และดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ โดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ผลการวิจัยตัวแปรที่สามารถพยากรณ์การพิจารณาความน่าเชื่อถือทางการเงินของธุรกิจและการพัฒนาแบบจำลองการพิจารณาความน่าเชื่อถือทางการเงินสำหรับธุรกิจ โดยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์ พบว่า ตัวแปรอัตราส่วนทางการเงิน ได้แก่ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนสุทธิต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน อัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น ตัวแปรตัวแปรสัมพันธ์กับมูลค่าทางการตลาด คือ มูลค่าตลาดของสินทรัพย์ต่อจุดผิดนัดชำระหนี้ และตัวคุณลักษณะของธุรกิจ คือขนาดธุรกิจ มีอิทธิพลในการพยากรณ์และพัฒนาแบบจำลองการพิจารณาความน่าเชื่อถือทางการเงินสำหรับธุรกิจ โดยแบบจำลองมีความแม่นยำถึงร้อยละ 82.70 ส่วนผลการทดสอบตัวแปรอิทธิพลของผลการพิจารณาความน่าเชื่อถือทางการเงินจากแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นต่อผลตอบแทนของหลักทรัพย์ โดยการใช้การวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis) พบว่า ตัวแปรเชิงสาเหตุในแบบจำลองที่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผลตอบแทนหลักทรัพย์ ประกอบด้วย อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนสุทธิต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน มูลค่าตลาดของสินทรัพย์ต่อจุดผิดนัดชำระหนี้ ส่วนขนาดธุรกิจมีนัยสำคัญเพียงการส่งผลในทางตรงต่อผลตอบแทนหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ผลในภาพรวม พบว่า แบบจำลองเชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าความสอดคล้องผ่านเกณฑ์ความสอดคล้องทุกค่า พร้อมทั้งผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดเห็นด้วยกับผลการวิจัยเชิงปริมาณที่พัฒนาขึ้น The purposes of this research aimed 1) to study financial ratios, market related variables and company characteristic which could predict credit scoring performance, 2) to develop the credit scoring model for companies and 3) To test the causal influences of predictive variables from the developed credit scoring model on stock return. The research methodology was mixed method. The samples of quantitative method were selected by matched pairs between unhealthy financial and healthy financial companies, and, this method used secondary data. For the qualitative method, the research collected data from in-depth interview with experts selected by purposive sampling. According to the study of the predictable variables and the development of credit scoring model for businesses by using logistic regression analysis, the research found that the financial ratios such as current ratio, net working capital to total assets ratio, fixed asset turnover ratio, return on assets and return on equity, market related variable which is the market value of assets to default point ratio, and company characteristic which is firm size, were the predictable variables. Moreover, when these variables are used to develop the credit scoring model, the model showed 82.70 percent accuracy in prediction. As for the test of the influence of the predictable variables from the developed credit scoring model on stock return by using path analysis, it was found that the causal variables influencing on stock return directly and indirectly consisted of current ratio, net working capital to total assets ratio, fixed asset turnover ratio and the market value of assets to default point ratio. While firm size has a direct influence significantly on stock return, it is not significant in an indirect influence. In the overview, the causal model was consistent with empirical data and had consistency values passing all conformance criteria. In addition, the results of qualitative research found that all experts agreed with the quantitative research results that have been developed.Downloads
Published
2021-04-22
Issue
Section
Articles