โรงแรมต้นแบบการเรียนรู้หลักการทรงงานฯ
HOTEL BASED ON THE LEARNING OF HIS MAJESTY'S WORKING PRINCIPLES MODEL
Keywords:
โรงแรมต้นแบบการเรียนรู้หลักการทรงงาน, หลักการทรงงาน, การบริหารจัดการโรงแรมAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบโรงแรมต้นการเรียนรู้หลักการทรงงานฯ โดยการวิจัย เชิงผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารโรงแรมที่ได้รับรางวัลจากสำนักงาน กปร. จำนวน 4 โรงแรม ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการสำรวจ ด้วยเทคนิค เดลฟาย (Delphi Technique) กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 คน จำนวน 3 รอบ ขั้นตอนที่ 3 การยืนยันผลการวิจัยด้วยการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) กับผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 50 ปี เป็นเพศชาย มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี และ ปริญญาโท ประสบการณ์ด้านหลักการทรงงานฯ มากกว่า 10 ปี ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบโรงแรงแรมต้นแบบการเรียนรู้หลักการทรงงานฯ สามารถประยุกต์ใช้ได้ 2 แนวทางคือ 1) แนวทางการประยุกต์ใช้สำหรับการบริหารจัดการ โดยการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร ดูแลพนักงานเป็นเสมือนคนในครอบครัว บริหารด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง โปร่งใสตรวจสอบได้ สร้างความมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย บริหารภาพรวมโดยมองความสัมพันธ์กันของปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระหว่างรายได้และต้นทุน ศึกษาและนำข้อมูลภูมิสังคมไปใช้ คัดเลือกพนักงานที่มีใจรักรับรู้จุดมุ่งหมายของ บริหารการใช้ทรัพยากรและพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2) แนวทางการประยุกต์ใช้เพื่อจัดการการเรียนรู้แก่ผู้ใช้บริการโดยออกแบบพื้นที่และแผนผังให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย This research has an objective to find out the Hotel based on the Learning of His Majesty's working Principles model through the mixed method research which included by the qualitative and quantitative research. The research methodology consisted of three steps; step 1: collecting the data by an in-depth interview with the executives of four hotels which were once decorated by the Office of the Royal Development Projects Board, step 2: implementing survey by Delphi technique with 18 experts for 3 rounds, and step 3: confirming on research result by setting up a focus group meeting with the Chaipattana Foundation's executives. The research result presented that mostly sample was a male with over 50 years old, had an education level in bachelor's and master's degrees, and had an experience related to His Majesty's working principles over 10 years. Moreover, the researcher also found that the pattern of hotel learning model of His Majesty’s working principles was able to apply as two guidelines. The first guideline was the application for management by creating culture and organization values which treated employees like family members, administrating based on Sufficiency Economy Principles transparently, building the engagement with stakeholders, managing overall image by considering on the relationship with factors such as income and cost, studying and applying the socio-geographic data, and selecting the employees who were passionate about the purpose of hotel. The second guideline was the application for learning management for users by designing areas and diagrams to facilitate self-directed learning.References
ชาย โพธิสิตา. (2559). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2554). หลักการทรงงาน. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
ดนัย จันทร์เจ้าฉาย. (2559). ธรรมดีที่พ่อทำ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ไพบูลย์อ๊อฟเซต
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 17). นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
พิชญากร กถญชรินทร์. (2558). Responsible hospitality-theory and practice. วารสารบริหารธุรกิจ ศรีนครินทรวิโรฒ, 6(2), 152-157.
รัญจวน ประวัติเมือง. (2558). แนวทางการยกระดับภูมิปัญญา อัตลักษณ์ วัฒนธรรมล้านนา สู่การบริหารธุรกิจโรงแรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 21, 31-42.
ลลิต ถนอมสิงห์. (2557). หลักการทรงงานและองค์กรแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน. วารสารวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(1), 23-32.
ลลิต ถนอมสิงห์. (2559). 8 มิถุนายน 2559. แนวคิดการสร้างโรงแรมต้นแบบการเรียนรู้หลักการ ทรงงานฯ. สัมภาษณ์
สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2558). แบบจำลองเชิงพยากรณ์ความทุ่มเทใจของพนักงานโรงแรมในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 293.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.(2557). การสำรวจการประกอบกิจการโรงแรมและเกสต์เฮาส์. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงานกปร.). (2559).
แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมากจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงานกปร.).; วันที่สืบค้นข้อมูล 30 มกราคม 2560. เข้าถึงได้จาก http://km.rdpb.go.th/Project/View/6466
อาชัญญา รัตนอุบล,(2559). การเรียนรู้ของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสังคมไทย พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bruns-Smith, A., Choy, V., Chong Ph D, H., & Verma Ph D, R. (2015). Environmental sustainability in the hospitality industry: Best practices, guest participation, and customer satisfaction.
Sigala, M. (2014). Customer involvement in sustainable supply chain management: A research framework and implications in tourism. Cornell Hospitality Quarterly, 55(1), 76-88.
Wang, R. (2012). The investigation of green best practices for hotels in Taiwan. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 57, 140-145.