รูปแบบส่งเสริมการส่งออกเห็ดหลินจือที่ปลูกบนพื้นที่สูงไปสู่ตลาดการค้าประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
EXPORT MODEL OF HIGHLAND LINGZHI TO CHINA TRADE MARKET
Keywords:
เห็ดหลินจือ, การส่งออก, ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนAbstract
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาหารูปแบบวิธีการในการส่งออกและส่งเสริมการปลูกเห็ดหลินจือที่ปลูกในพื้นที่สูงไปสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้การวิจัยเชิงประสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก นักธุรกิจส่งออกพืชผักและทูตพาณิชย์กับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน กรมการค้าต่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จำนวน 8 คน การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามระดับความคิดเห็นจากกลุ่มผู้รับซื้อเห็ดหลินจือในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนใน 4 มณฑล ได้แก่ เฉิงตู ซีอาน นครกวางโจว มณฑลยูนนาน พบว่า เห็ดหลินจือแปรรูปแบบดอกอบแห้งเป็นที่ต้องการมากที่สุด เส้นทางบก R3B เหมาะสำหรับส่งออกเห็ดหลินจือ เพราะมีระยะทางสั้นและค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้สถิติ Multiple linear regression ที่มีนัยสำคัญในเส้นทาง R3B นี้ คือ การเลือกเส้นทางในการรับการควบคุมการผลิตของเกษตรกร การควบคุมกระบวนการการผลิตของเกษตรกร กระบวน การและขั้นตอนการจัดเก็บ เส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในการขนส่ง กฎระเบียบหรือกฎหมายที่นักธุรกิจไทยส่งออกพืชผักต้องรับทราบปัญหา และอุปสรรค เกี่ยวกับกฎระเบียบหรือกฎหมาย ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับการส่งออกเห็ดหลินจือของไทย และทดสอบการส่งออกเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องโดยใช้ นำผลที่ได้ไปทำคู่มือแนะนำเกษตรกรในการปลูกและส่งหลินจือไปสู่ตลาดการค้าประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการเพาะปลูกควรเป็นแบบเกษตรอินทรีย์ เพคเกจต้องเป็นเอกลักษณ์ ผู้ส่งออกต้องศึกษาขั้นตอนการส่งออกสินค้าของประเทศไทยและการนำเข้าสินค้าของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่งเพื่อหาจุดคุ้มทุนใน การขนส่งสินค้า เห็ดหลินจือแปรรูป The study collects qualitative data by conducting in-depth interviews with a total of eight respondents including plant and vegetable exporters, the commercial attaché to China, Department of Foreign Trade personnel, and Department of Export Promotion personnel. Quantitative data is gathered from opinion questionnaires completed by lingzhi mushroom buyers based in four Chinese provinces, namely Chengdu, Xi’An, Guangzhou, and Yunnan. The data gathered shows that dried lingzhi slices are in the highest demand, and the R3B land route is the best option to have lingzhi mushrooms from the Project exported since it takes the shortest time and incurs relatively low transport costs. To analyse the relationship between key variables in the effectiveness of the R3B land route, multiple linear regression is performed while also factoring in the following variables: 1) the selection of pick-up routes 2) controls on lingzhi mushroom farming 3) dried lingzhi manufacturing process controls 4) storage procedures 5) the most appropriate logistic route 6) relevant rules and regulations of which Thai plant and vegetable exporters must be aware 7) problems or complications caused by the rules and regulations 8) the risks of exporting Thai lingzhi mushrooms.References
กำจัด เล่ห์มงคล, รุ่งอรุณ สาสนทาญาติ, นราวุธ ทองมะโรงสี, สุจิตตา หงษ์ทอง. (2559). การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของกล้วยไข่ไทยรองรับการค้าเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา: การส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนตอนใต้. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข., (2560). เห็ดหลินจือคุณสมบัติรักษาโรคได้จริงหรือ. วารสารกรมการแพทย์, 42(2), 21-23.
ทวีศักดิ์ บัวติ๊บ. (2558). การจัดการโซ่อุปทานยางพาราในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, สำนักวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2555). โครงการศึกษาการขยายตลาดผลไม้สดไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การเปิดเขตการค้าเสรีไทย-จีน (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุจินดา เจียมศรีพงษ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการส่งออกของธุรกิจสมุนไพร ในจังหวัดพิษณุโลก. Journal of Business, Economics and Communications, 12(2), 161-175.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2553). โครงการศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตรภายใต้โครงการการศึกษาวิจัยตลอดจนติดตามประเมินผลเพื่อเสนอแนวทางนโยบายการปรับโครงสร้างภาคการผลิต การค้า และการลงทุน (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2552). โครงการศึกษาวิจัยระบบ Logistics และ Supply chain สินค้าเกษตรเพื่อขยายตลาดส่งออกไปประเทศในเอเชีย ปี 2551 (กรณีศึกษาการส่งออกผลไม้และผลิตภัณฑ์ไปสาธารณรัฐประชาชนจีนตามเส้นทางสาย R9 และR12) (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.