รูปแบบการลงทุนในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทย
Investment model of biofuels and biochemical industry in the area of Eastern Economic Corridor (EEC) of Thailand
Keywords:
รูปแบบการลงทุน, อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ, เคมีชีวภาพ, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, EECAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบในการลงทุนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึกจากเกษตรกรผู้ผลิตวัตถุดิบ นักวิชาการจากกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้บริหารจากบริษัทเอกชน ตัวแทนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และตัวแทนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 14 คน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบแยกตามประเด็นคำถาม จากนั้นทำการสรุปและสังเคราะห์ วิเคราะห์เพื่อนำไปสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ในขั้นตอนสุดท้าย ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการลงทุน มีดังนี้ ส่วนต้นน้ำ 1) การส่งเสริมให้เกษตรเพิ่มมูลค่าผลผลิต 2) การให้ความรู้ด้านการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงกระบวนการผลิต 3) การสนับสนุนทรัพยากร เครื่องมือ เทคโนโลยีในการผลิตให้กับเกษตรกร 4) การคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพและเพียงพอ 5) การสนับสนุนแหล่งเงินทุน 6) การสนับสนุนวัตถุดิบและผลผลิตที่มีในท้องถิ่นของเกษตรกร ส่วนกลางน้ำ 1) การเน้นประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต 2) ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถที่จะแข่งขันในตลาดได้ 3) การผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานสูง 4) การสร้างคุณค่าแก่ลูกค้าและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมอย่างใส่ใจ 5) การส่งเสริมการสร้างความภักดีในตราสินค้า 6) การส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่ ส่วนปลายน้ำ 1) การมุ่งเน้นกลยุทธ์รักษาฐานลูกค้าเดิม เพิ่มลูกค้าใหม่ 2) การมุ่งเน้นทำการตลาดดิจิทัล 3) การควบคุมราคาตลาด 4) การสร้างการรับรู้และสำนึกรับผิดชอบที่ดีในด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคม วัฒนธรรมชุมชน 5) การดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมการขายและการตลาดเชิงรุก 6) การให้ความรู้และความเข้าใจกับประชนในเรื่องความสำคัญของการเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ The objective of this research is to study the investment model of biofuel and biochemical industry in the area of Eastern Economic Corridor (EEC) of Thailand. Using a qualitative research methodology with in-depth interviews about the biofuel biochemical industry from farmers who produce upstream raw materials, academic department of agricultural extension, executives of private companies, representative from the department of industrial promotion and representative from the board of Investment, totaling 14 people. The results showed the investment are as follows upstream 1) Promotion of agriculture increase product value 2) Providing knowledge about productivity increase, production process improvement 3) Supporting resources, tools, technology 4) Selection of quality sufficient raw materials 5) Supporting funding sources 6) Supporting local raw materials, products of farmers. Midstream 1) Focusing on efficiency the production, process 2) Encourage entrepreneurs to compete in the market 3) Production of goods, high quality and standards 4) Creating value for customers and paying attention to the environment with care 5) Promoting brand loyalty 6) promoting the logistics system through supply chain. Downstream 1) Focus on strategy that retaining the existing customer base add new customers 2) Focusing on digital marketing 3) Market price control 4) Creating awareness and good responsibility in the environment, including society, culture and communities 5) Proactive sales promotion and marketing activities6) Educating the public about the importance of switching to biofuels and biochemical.References
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมในแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555-2574. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2560). ภาวะการส่งเสริมการลงทุนปี2560. เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2561 จาก www.boi.go.th/index.php?page=index &language=th
วรินธร สงคศิริ. (2558). ชุดโครงการอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมเกษตรศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก. (2559). ธุรกิจและอาชีพที่มีศักยภาพเชิงพื้นที่. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์. (2560). วางผังธุรกิจชีวภาพไทย โตอย่างไร ให้ยั่งยืน. เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2561 จาก https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/2681/ei7mtitlwt/Insight_THA_BioEnergy_2016.pdf
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2560). การพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) สู่ประเทศไทย 4.0: จากปริมาณสู่คุณภาพ. เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2561 จาก https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2018/11/wb144.pdf
สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย. (2560). ความเป็นมาของสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย. เข้าถึงเมื่อ 18 มิถุนายน 2561 จาก http://www.tbia.or.th/history.php
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2560). อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ. เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.eeco.or.th/industry/อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ#
อนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจกระแสใหม่. (2559). การปฏิรูปเศรษฐกิจกระแสใหม่. เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.nstda.or.th/th/news/5050-neweconomy
European Bioplastics. (2018). Bioplastics market data. Retrieved May 20, 2020 from https://www.european-bioplastics.org/market/
Lenihan, H. (2011). Enterprise policy evaluation: Is there a 'new' way of doing it? Evaluation and program planning, 34(4), 323-332.
Pekuri, A., Haapasalo, H., & Herrala, M. (2011). Productivity and Performance Management-Managerial Practices hi the Construction Industry. International Journal of Performance Measurement, 1(1), 39-58.
Porter, M. E., (1985). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. New York: The Free Press.
Rutkauskas, A. V., & Racinskaja, I. (2013). Integrated intelligence and knowledge, innovation and technology management, nurturing country universal sustainable development. Grodno: Yanka Kupala State University of Grodno.
Staudinger, B. (2008). The Role of Government and its Influence on Nursing Systems by. Means of the Definition of Nursing Minimum Data Sets (NMDS). Encyclopedia of Healthcare Information Systems, 3, 1220-1229.