การยอมรับนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นสั่งอาหารออนไลน์ของพนักงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี

TECHNOLOGY ACCEPTANCE AFFECTING FOOD ORDER INTENTION VIA APPLICATION OF EMPLOYEES IN LAEM CHABANG INDUSTRIAL ESTATE CHONBURI

Authors

  • ไกรกฤตย์ บุษบรรณ
  • ธนภัทร เอมอินทร์
  • อาริยา มาศศิริ
  • พัณณ์ภรณ์ พลพิทัก

Keywords:

การยอมรับนวัตกรรม , Technology acceptance

Abstract

การสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์นั้นเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติโควิด 19 โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการให้บริการระหว่างร้านอาหารกับผู้บริโภค เป็นช่องทางที่ช่วยให้การดำเนินธุรกิจมีโอกาสในการเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น ดังนั้น การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์หลัก 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นสั่งอาหารออนไลน์ของพนักงาน นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านต่างๆ ที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นสั่งอาหารออนไลน์ของพนักงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี โดยเก็บข้อมูลจากพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ความง่ายการใช้งานแอพพลิเคชั่นสั่งอาหารออนไลน์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานแอพพลิเคชั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.91 และมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.91 2) การรับรู้ความง่ายการใช้งานแอพพลิเคชั่นสั่งอาหารออนไลน์มีอิทธิพลเชิงลบต่อทัศนคติในการใช้งานแอพพลิเคชั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ -0.01 และมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.81 3) การรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานแอพพลิเคชั่น มีอิทธิพลเชิงบวกต่อทัศนคติในการใช้งานแอพพลิเคชั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง เท่ากับ 0.90 และมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.90 4) ทัศนคติในการใช้งานแอพพลิเคชั่นมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการยอมรับนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 1.32 และมีค่าอิทธิพลรวม เท่ากับ 1.32 ตามลำดับ  The pandemic of Corona virus makes the changing of ordering food method. The online ordering food is the new one that was famous in this period. The purposes of this research are 1) To study the acceptance behavior of online ordering food technology of employees who work at Laem Chabang industrial estate. 2) To study the factors that affect to the acceptance behavior of online ordering food technology of employees who work at Laem Chabang industrial estate. Data was collected through a self-administered survey questionnaire. The target population is employees who work at Laem Chabang industrial estate. Purposive sampling is used for collection of data from 400 employees. The data was analyzed multiple regression. The results revealed that 1) Perceived ease of use of online ordering food application has positive influence on Perceived usefulness of online ordering food application with statistical significance level at 0.05, 2) Perceived ease of use of online ordering food application has negative influence on Behavioral intention to use of online ordering food application with statistical significance level at 0.05, 3) Perceived usefulness of online ordering food application has positive influence on Behavioral intention to use of online ordering food application with statistical significance level at 0.05, 4) Perceived usefulness of online ordering food application has positive influence on Actual system use of online ordering food application with statistical significance level at 0.05, 5) Behavioral intention to use of online ordering food application has positive influence on Actual system use of online ordering food application with statistical significance level at 0.05

References

ชนัญญา เภกะนันทน์. 2556. รูปแบบการดำเนินชีวิตการเปิดรับสื่อ และการยอมรับนวัตกรรมของผู้บริโภคสูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชานนท์ ศิริธร. 2554. การเปิดรับสื่อและการยอมรับนวัตกรรมของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวาย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภค ออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฏฐินี สวัสดิ์วอ (2554). การยอมรับนวัตกรรมของผู้ใช้บริการระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-Customs) ที่มีต่อกรมศุลกากร เขตคลองเตย. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นฤธร ศรีโรจนกูร (2560) การยอมรับนวัตกรรมการชำระเงินผ่านระบบ QR Payment ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ.

ปุณณกา คุปต์กุญช์ และธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ (2561). การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสาธารณะมีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค. การประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยด้านบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2

ธัญกานต์ คชฤทธิ์ และ กุสุมา ดำพิทักษ์. 2020. “การยอมรับระบบคลาวด์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบสารสนเทศการบัญชีภาคธุรกิจ สำหรับผู้ทำบัญชี.” Journal of Arts Management. 4 (1). 13-22.

ธาราภร วิทยสินธนา. 2557. การยอมรับนวัตกรรมการสื่อสารผ่านแอพพลิเคชั่น: Whats App ทางโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ธนวรรณ สำนวนกลาง (2559). การยอมรับเทคโนโลยีการทำธุรกรรมทางการเงินรูปแบบ "M-banking". การบริหารเทคโนโลยี. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารเทคโนโลยี). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นพเดช อยู่พร้อม. 2558. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีระบบ eDLTV ของบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

พุทธิพงศ์ หม่อมวงศ์. 2561. การรับรู้คุณภาพเว็บไซต์ การยอมรับเทคโนโลยี และการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร กับการตัดสินใจซื้อการ์ดจอจากเว็บไซต์ J.I.B ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

พรชนก พลาบูลย์. 2558. การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความตั้งใจของประชาชนในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ของรัฐบาลไทย. ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

รายงานผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี. 2563 (Online). https://www.nbtc.go.th/News/Information.aspx?lang=en-ph, 11 ตุลาคม 2563

วสุธิดา นุริตเมนต์ และ ทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ. 2561. “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยี และความตั้งใจใช้บริการชำระเงินของผู้บริโภครุ่นใหม่ด้วยโปรแกรมประยุกต์คิวอาร์โค้ดผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน.” วารสารวิชาการ นวัตกรรมสื่อสารสังคม. 2(12). 40-50.

ยงยุทธ ทองชัย (2559. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี กรณีศึกษา การจองคิวร้านอาหารผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี. วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรพงษ์ ทวีวัฒน์. (2547). พฤติกรรมและการยอมรับนวัตกรรมธุรกรรมการเงินผ่านอินเทอร์เน็ตแบงค์กิง (กรณีศึกษา บมจ. ธนาคารกสิกรไทย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี/กรุงเทพฯ.

สุอัมพร ปานทรัพย์ และ ดัชกรณ์ ตันเจริญ. 2020. “การประเมินการใช้งานแอพพลิเคชั่น 7-Eleven บนพื้นฐานของทฤษฏี การยอมรับและการใช้เทคโนโลยี” Journal of Information Science and Technology. 10 (1). 85-97.

เสาวณี จันทะพงษ์ และ ทศพล ต้องหุ้ย. (2563) ). ผลกระทบวิกฤต COVID-19 กับเศรษฐกิจโลก: This Time is Different. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.

bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_18Mar2020.pdf.

อัครเดช ปิ่นสุข (2557). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประสมการตลาดในมุมมองของลูกค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ (E-satisfaction) ในการจองตั๋วภาพยนตร์ออนไลน์ผ่าน ระบบแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้บริการในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อิสราวลี เนียมศรี. 2559. การตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่น LINE MAN ในกรุงเทพมหานคร. ค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

อุบลวรรณ ขุนทอง และคณะ 2563. “ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงิน กรณีศึกษาระบบการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนด้วยเทคโนโลยี Near Field Communication (NFC) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร.” วารสารรัชต์ภาคย์. 14 (32). 23-36.

Davis, F. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340. doi:10.2307/249008.

Rogers, E. M. (2003). Diffusion of innovations (5th ed.). New York: Free.

Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS quarterly, 27(3), 425–478.

Zhou, T., Lu, Y., and Wang, B. (2010). Integrating TTF and UTAUT to explain mobile banking user adoption. Computers in Human Behavior, 26(4), 760-767.

Downloads

Published

2022-11-25